Page 159 - รวมกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
P. 159
หน้า ๒
เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ระเบียบ ก.ร.
ว่าด้วยการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการกรณีมีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการ
กรณีมีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒ (๓) และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๕๔ ก.ร. จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบ ก.ร. ว่าด้วยการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการกรณี
มีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ พ.ศ. ๒๕๕๕”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๗
วรรคหนึ่ง ข. (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) และเป็นกรณีที่ ก.ร. อาจพิจารณายกเว้น
ให้เข้ารับราชการได้ตามมาตรา ๓๗ วรรคสอง ถ้าประสงค์จะขอให้ ก.ร. พิจารณายกเว้นเพื่อเข้ารับราชการ
ให้ยื่นคําขอตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดไว้ในระเบียบนี้
ข้อ ๔ ให้ผู้มีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญตามข้อ ๓ ที่ประสงค์จะเข้ารับราชการ
ยื่นคําขอ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามแบบที่เลขานุการ ก.ร. กําหนด
ข้อ ๕ คําขอตามข้อ ๔ ให้ยื่นดังนี้
(๑) ในกรณีที่ประสงค์จะสอบแข่งขันตามมาตรา ๓๙ หรือเข้ารับการคัดเลือกตามมาตรา ๔๐
ให้ยื่นคําขอต่อเลขานุการ ก.ร.
(๒) ในกรณีที่ประสงค์จะเข้ารับราชการตามมาตรา ๔๑ หรือกลับเข้ารับราชการตามมาตรา ๔๖
วรรคสาม หรือสมัครเข้ารับราชการตามมาตรา ๔๘ วรรคหนึ่ง ให้ยื่นต่อหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ที่จะเข้ารับราชการ
ให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่ได้รับคําขอตาม (๒) พิจารณาคําขอดังกล่าว โดยหากไม่ประสงค์
จะให้ผู้นั้นเข้ารับราชการ ให้แจ้งให้ผู้นั้นและเลขานุการ ก.ร. ทราบ แต่ถ้าประสงค์จะให้ผู้นั้นเข้ารับราชการ
ให้ส่งคําขอและเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งเหตุผลและความจําเป็นที่จะให้ผู้นั้นเข้ารับราชการ
ให้เลขานุการ ก.ร. เพื่อดําเนินการต่อไป
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของ ก.ร. ตามระเบียบนี้ ให้สํานักงานเลขานุการ ก.ร.
หรือส่วนราชการสังกัดรัฐสภา แล้วแต่กรณี ดําเนินการตรวจสอบเพื่อให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ
ประวัติส่วนตัว ประวัติการรับราชการ หรือการทํางาน การประกอบคุณงามความดี ความผิดหรือ
ความเสื่อมเสีย และความประพฤติของผู้นั้น โดยให้ตรวจสอบจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน
และผู้มีเกียรติซึ่งอยู่ใกล้ชิดอันควรเชื่อถือได้ ในการนี้ เลขานุการ ก.ร. จะให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ที่เห็นสมควรเป็นผู้ดําเนินการแล้วแจ้งให้ทราบก็ได้
รวมกฎหมาย
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล 147