Page 150 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 150
ช่วยเหลือทางกฎหมายหรือทางอื่นที่เหมาะสมเว้นเสียแต่เมื่อพิจารณาเห็นว่าจะไม่เป็น
ประโยชน์สูงสุดต่อเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อค านึงถึงอายุของเด็กหรือสถานการณ์บิดามารดา
หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย
(4) จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความหรือสารภาพผิด สามารถซักถามหรือซักค้านพยาน
และให้พยานของตนเข้ามามีส่วนร่วม และให้มีการซักถามพยานแทนตนภายใต้เงื่อนไขแห่ง
ความเท่าเทียมกัน
(5) หากพิจารณาว่าได้มีการฝ่าฝืนกฎหมายอาญา ก็ให้การวินิจฉัยหรือมาตรการใดที่
ก าหนดโดยผลของการวินิจฉัยนั้น ได้รับการทบทวนโดยหน่วยงานหรือองค์กรทางตุลาการที่
มีอ านาจเป็นอิสระและเป็นกลางในระดับสูงขี้นไป
(6) ให้มีความช่วยเหลือของล่ามโดยไม่คิดมูลค่า หากเด็กไม่สามารถเข้าใจ หรือพูด
ภาษาที่ใช้อยู่
(7) ในทุกขั้นตอนของกระบวนการพิจารณา ให้เคารพต่อเรื่องส่วนตัวของเด็กอย่าง
เต็มที่
3. รัฐภาคีจะหาทางส่งเสริมให้มีการตรากฎหมาย ก าหนดกระบวนวิธีพิจารณา จัดตั้งหน่วยงานและ
สถาบันซึ่งจะใช้เป็นการเฉพาะกับเด็กที่ถูกกล่าวหา ตั้งข้อหา หรือถูกถือว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา และโดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง
ก) การก าหนดอายุขั้นต ่า ซึ่งเด็กที่มีอายุต ่ากว่านั้นจะถูกถือว่าไม่มีความสามารถที่จะฝ่าฝืน
กฎหมายอาญาได้
ข) เมื่อเห็นว่าเหมาะสมและเป็นที่พึงปรารถนา ให้ก าหนดมาตรการที่จะใช้กับเด็กเหล่านั้น
โดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการทางตุลาการ ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองตาม
กฎหมาย จะได้รับการเคารพอย่างเต็มที่อยู่
4. การด าเนินการต่าง ๆ เช่น ค าสั่งให้มีการดูแล แนะแนว และควบคุมการให้ค าปรึกษา การภาคทัณฑ์
การอุปการะดูแล แผนงานการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ และทางอื่น นอกเหนือจากการให้สถาบันเป็นผู้ดูแล
จะต้องมีไว้เพื่อประกันว่าเด็กจะได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่เหมาะสมแก่ความเป็นอยู่ที่ดีของเด็ก และได้สัดส่วน
กับทั้งสภาพการณ์และความผิดของเด็ก
ข้อ 41
ไม่มีส่วนใดในอนุสัญญานี้ จะมีผลกระทบต่อบทบัญญัติใดๆ ซึ่งชักจูงให้สิทธิของเด็กบังเกิดผลมากกว่า
ซึ่งอาจปรากฎอยู่ใน
ก) กฎหมายของรัฐภาคี หรือ