Page 13 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีขอให้ตรวจสอบและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการเก็บเงินบำรุงการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
P. 13
หรือวิธีการที่แตกต่างจากการเรียนการสอนปกติ หรือการสอนที่ใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่
จัดหาให้เป็นพิเศษตามอัตราที่เหมาะสมกับสภาพฐานะทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยความเห็นชอบ
จากคณะกรรมการสถานศึกษา และเป็นไปด้วยความสมัครใจของผู้ปกครองและนักเรียน ภายใต้
หลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการต้นสังกัดระดับกรมของสถานศึกษาแห่งนั้นกำาหนด พร้อมทั้งกำาหนดหลักเกณฑ์
เงินบำารุงการศึกษาเพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดถือปฏิบัติ โดยกำาหนดรายการที่ไม่ให้สถานศึกษาจัดเก็บ
และรายการที่สถานศึกษาจัดเก็บได้ ดังนี้
- รายการที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลแล้วสถานศึกษาจัดเก็บไม่ได้ ๒๒ รายการ
เช่น ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่าใช้จ่ายในการไปทัศนศึกษาปีละ
๑ ครั้ง ค่าคู่มือนักเรียน ค่าปฐมนิเทศนักเรียน ค่าวารสารโรงเรียน เป็นต้น
- รายการที่สถานศึกษาสามารถจัดเก็บได้ซึ่งต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของ
ผู้ปกครองและนักเรียน เช่น ห้องเรียนพิเศษ (EP MEP ห้องเรียนพิเศษด้านภาษาต่างประเทศ
ด้านวิชาการ และด้านอื่นๆ) ค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของนักเรียน (ค่าจ้างครู
ชาวต่างประเทศ ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก ค่าเรียนปรับพื้นฐานความรู้) ค่าใช้จ่ายที่จัดเสริม
เพิ่มเติมให้กับนักเรียนนอกเหนือเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป (ค่าจ้างครูที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ
ค่าสาธารณูปโภคสำาหรับห้องเรียนปรับอากาศ เป็นต้น) ค่าใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการและสวัสดิภาพนักเรียน
(ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าจ้างบุคลากรที่ปฏิบัติงาน สถานศึกษา เป็นต้น)
๓) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการตามข้อ ๒) เนื่องจากประกาศดังกล่าวเป็นเพียงการ
กำาหนดหลักเกณฑ์การเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อให้สอดคล้องกับความเห็นของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และเพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดถือปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเท่านั้น จึงไม่ได้ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งแตกต่างจากประกาศอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวง
ศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๓๓ “การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่
การศึกษา โดยคำานึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำานวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย
เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา” ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ศึกษาธิการโดยคำาแนะนำาของสภาการศึกษามีอำานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำาหนดเขตพื้นที่
การศึกษา หรือพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๗ วรรคสาม
“ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษา ไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษา
ขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้” ให้รัฐมนตรี
โดยคำาแนะนำาของสภาการศึกษามีอำานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำาหนดเขตพื้นที่การศึกษา
เป็นต้น
๔) ปัจจุบันได้ยกเลิกประกาศฉบับลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ และจัดทำาประกาศ
ฉบับใหม่ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ พร้อมด้วยหลักเกณฑ์เงินบำารุงการศึกษา
อนึ่ง กรณีดังกล่าวผู้ร้องเรียนได้เคยยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางแล้ว แต่
ศาลปกครองกลางมีคำาสั่งไม่รับคำาฟ้องไว้พิจารณาและให้จำาหน่ายคดีออกจากสารบบความ รวมทั้งได้มี
การอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้พิจารณาเห็นพ้องด้วยกับคำาสั่งของศาลปกครองกลาง
12
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีขอให้ตรวจสอบและดำาเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการเก็บเงินบำารุงการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ