Page 58 - คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
P. 58

56 คู่มือ การทำาความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง




                         อำานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                  แห่งชาติต้องคำานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย และมีอำานาจเรียก
                  เอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำา รวมทั้งมีอำานาจอื่น

                  เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                  พุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                  มีอำานาจหน้าที่ในการเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง รวมทั้งการ
                  ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหายได้ (ตามข้อ ๒ – ๔ และเป็นการเพิ่มเติมจากอำานาจหน้าที่ตาม

                  รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐) โดยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบ  รัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของ
                  ศาลรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง และที่กฎหมายบัญญัติ

                  ตามลำาดับ  สำาหรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ กสม. จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามข้อ ๒ นั้น
                  หมายถึง กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำานาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภา

                  หรือกฎหมายที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำาหนดที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจาก
                  รัฐสภาแล้ว เป็นต้น


                  ช่องท�งก�รใช้กลไกคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภ�พ

                  ของประช�ชน

                         จากข้อมูลในเวปไซด์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หัวข้อ “ข้อควรรู้เกี่ยวกับเรื่อง
                           ๑๘
                  ร้องเรียน”   ระบุว่า ประชาชนสามารถร้องเรียนปัญหาการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ตามตามกลไก
                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ที่สามารถร้องเรียน คือ

                         v  ผู้ถูกละเมิดหรือผู้ทำาการแทน
                         v  ผู้ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม

                         v  องค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่พบเห็นการละเมิด

                         v  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหยิบยกเพื่อพิจารณาตรวจสอบ

                         ช่องทางการร้องเรียน

                         v  โทรศัพท์สายด่วน ๑๓๗๗ หรือ ๐ ๒๑๔๑ ๓๙๗๘ - ๘๓
                         v  เขียนจดหมายส่งไปที่ตู้ ปณ. ๔ หลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ หรือ โทรสาร ๐ ๒๑๔๓ ๙๕๗๘

                         v  ด้วยวาจา โดยไปที่สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                         v  ส่งข้อความผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ที่ help@nhrc.or.th








                  ๑๘  http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/contentpage.php?id=24&menu_id=2&groupID=3&subID=22
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63