Page 94 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 94

93


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                     ๔.๑.๑  ความเป็นมาของการพัฒนาตัวชี้วัดในระบบสหประชาชาติ

                              ในช่วงทศวรรษ ที่ ๑๙๙๐  คณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาได้ตระหนักว่าข้อมูลที่รัฐต่างๆ
                     รายงานขาดความเชื่อมโยงกับสาระแห่งสิทธิ  และไม่ได้เป็นข้อมูลที่เพียงพอที่จะใช้ประเมินพันธกรณี
                     ของรัฐในการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนได้  ดังนั้น จึงได้ร้องขอให้สำานักงานข้าหลวงใหญ่

                     สิทธิมนุษยชนได้จัดประชุมเรื่องการใช้ข้อมูลสถิติเพื่อใช้ในงานสิทธิมนุษยชน และจัดประชุมระหว่าง
                     กรรมการประจำาสนธิสัญญาเพื่อหาแนวทางในการจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนขึ้น คณะกรรมการ

                     ประจำาสนธิสัญญาและผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลสถิติได้มีการประชุมอย่างต่อเนื่อง และได้มีการพัฒนา
                     ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนบางด้านที่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา
                              ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ (ค.ศ. ๒๐๑๒) สำานักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ได้พิมพ์

                     หนังสือ ชื่อ Human Rights Indicators : A Guide to Measurement and Implementation
                     เพื่อเป็นคู่มือให้กับประเทศต่างๆ ในการจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนขึ้น  ๒๐๙


                     ๔.๑.๒  กระบวนการในการพัฒนาตัวชี้วัด

                              ในคู่มือการจัดทำาตัวชี้วัด Human Rights Indicators : A Guide to Measurement and

                     Implementation  สำานักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ได้สรุปขั้นตอนที่สำาคัญประการแรกในการดำาเนินการ
                     พัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนไว้ว่า  ควรจะต้องพิจารณาว่า ตัวชี้วัดที่จะพัฒนาขึ้นนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร

                     เช่น เพื่อประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณี หรือการประเมินผลการดำาเนินงาน หรือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
                     ที่วางไว้  (benchmark)

                              สำาหรับตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นเพื่อประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศนั้นควรมี
                     ขั้นตอนที่จะต้องคำานึงถึง ดังนี้

                              •  วัตถุประสงค์ของตัวชี้วัด
                              •  พันธกรณี และสาระแห่งสิทธิ (characteristic features, obligation and international
                                 normative framework) มีอย่างไร

                              •  กลไกระหว่างประเทศกลไกใดที่พิจารณาหรือประเมิน
                              •  จะใช้ข้อมูลประเภทใด หรือลักษณะตัวชี้วัดเช่นใด เช่น ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ หรือตัวชี้วัด

                                 เชิงคุณภาพ ข้อมูลที่จะใช้จะเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือข้อมูลเชิงวินิจฉัย

                              ขั้นตอนสำาคัญขั้นตอนหนึ่งในการพัฒนาตัวชี้วัด คือ กำาหนดสาระแห่งสิทธิ เพื่อให้เนื้อหา
                     ของสิทธิแต่ละด้านที่ก่อโดยพันธกรณีระหว่างประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมมิติต่างๆ ของสิทธิมนุษยชน

                     ให้รอบด้านที่สุด  ซึ่งสำานักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ได้ให้คำาแนะนำาในการกำาหนดสาระแห่งสิทธิไว้
                     ดังแผนภูมิต่อไปนี้






                     ๒๐๙   แม้ว่าคู่มือนี้จะตีพิมพ์หลังจากโครงการศึกษานี้ได้ด�าเนินการไปแล้วเกือบหนึ่งปี แต่อย่างไรก็ตาม คณะผู้ศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากรายงาน
                                                                                       ่
                         การประชุม และกระบวนการในการพัฒนาตัวชี้วัดที่ส�านักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติเผยแพร่อย่างสม�าเสมอ รวมทั้งรายงานการ
                         ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่ทางส�านักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ได้จัดท�าขึ้น
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99