Page 37 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 37
36
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
บทที่ ๓
กระบวนการและวิธีการ
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
บทนี้จะอธิบายวิธีการและกระบวนการในการพัฒนาตัวชี้วัดที่คณะผู้ศึกษาได้ดำาเนินการในการ
จัดทำาตัวชี้วัดตามโครงการนี้ โดยแบ่งเป็นห้าหัวข้อ คือ
๑. การกำาหนดแหล่งที่มาของพันธกรณีสิทธิมนุษยชนและสาระแห่งสิทธิ
๒. การกำาหนดข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
๓. การมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
๔. การสัมภาษณ์เชิงลึก
๕. กระบวนการในการพัฒนาตัวชี้วัด
๓.๑ การกำาหนดแหล่งที่มาของ
พันธกรณีสิทธิมนุษยชนและสาระแห่งสิทธิ
ขั้นตอนสำาคัญในการจัดทำาตัวชี้วัดขั้นตอนหนึ่ง คือ การกำาหนดพันธกรณีระหว่างประเทศ
(Identification of Legal Obligations) และสาระแห่งสิทธิ (Identification of Element of Rights)
ตามที่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ประกาศรับรองว่า เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่อาจพรากจาก
มนุษย์ได้ สิทธิเหล่านั้นมีลักษณะเป็นคุณค่าพื้นฐานแห่งความเป็นมนุษย์ แต่เนื่องจากสิทธิมนุษยชน
เป็นคำาที่มีลักษณะเป็นเกณฑ์ที่เป็นปทัสถาน (Normative) จึงก่อให้เกิดปัญหาถึงสาระและขอบเขต
เมื่อได้จัดทำาอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ ขึ้น ทำาให้สิทธิต่างๆ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดย
คณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนและองค์กรต่างๆ ที่ดำาเนินงานเกี่ยวข้องกับสิทธิ
ด้านนั้นๆ ได้พัฒนา “สาระแห่งสิทธิ (element of right)” ขึ้น เพื่ออธิบายขอบเขต ความหมาย
และเงื่อนไขที่ประกอบเป็นสิทธิต่างๆ