Page 103 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 103
102
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๔.๒.๑.๒ กระบวนก�รและวิธีก�รจัดทำ�ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของ Human Rights
Measurement Framework (HRMF)
๑) ขั้นตอนแรก ได้มีการมอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเล็กเฉพาะดำาเนินการ
โดยเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับการปรับจากกรอบคิดและวิธีการดำาเนินงานของสำานักงานข้าหลวงใหญ่ สิทธิมนุษยชน
แห่งสหประชาชาติ (Office of the High Commissioner for Human Rights) มาปรับให้เข้ากับบริบท
ของสหราชอาณาจักร โดยเชื่อว่าวิธีการตามกรอบคิดนี้จะทำาให้เกิดผลสำาเร็จสูงและมุ่งสู่ผลการศึกษา
ตามกรอบและผลการดำาเนินงานที่ดีที่สุดของประชาคมระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ได้ประเด็น
สะท้อนปัญหาเฉพาะของสหราชอาณาจักรที่มีระบอบกฎหมาย และรัฐบาลท้องถิ่นที่แยกจากกัน รวมถึง
มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนดำาเนินงานแยกจากกันของแคว้นอิงแลนด์ เวลส์ และสก๊อตแลนต์ ๒๒๒
พื้นฐานและหลักการทางกฎหมายอันเป็นที่มาของกรอบการวัดสิทธิมนุษยชน
มาจากบทบัญญัติของ มาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๑ แห่งสหราชอาณาจักร
ร่วมกับข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนที่สำาคัญ ทั้งในแคว้นอิงแลนด์ เวลส์ และสก๊อตแลนด์ จากนั้น
ได้พิจารณากับอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (European Convention on Human Rights and
Fundamental Freedoms) ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นภาคี โดยที่เห็นว่าในอนุสัญญาสิทธิมนุษยชน
แห่งยุโรปนั้นมีความครอบคลุมเพียงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จึงได้ขยายกรอบความสนใจ
ไปสู่กฎบัตรทางสังคมแห่งยุโรป (European Social Charter) ซึ่งนับว่ามีความละเอียดลออมาก ๒๒๓
สหราชอาณาจักรได้ขยายกรอบแนวคิดตัวชี้วัดของสำานักงานข้าหลวงใหญ่
สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และด้วยความตระหนักถึงความสำาคัญที่หน่วยงานรัฐทั้งหลาย
จะต้องเคารพสิทธิมนุษยชน จึงขยายออกไปถึงการตั้งเกณฑ์การดำาเนินงาน ปฏิบัติราชการ ให้มี
ความสอดคล้องกับหลักการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้วย และขยายไปถึงการคุ้มครอง
บุคคลที่ด้อยโอกาสเป็นพิเศษ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นพิเศษในสหราชอาณาจักร เช่น บุคคลที่ต้องอยู่
ในความดูแลเป็นพิเศษซึ่งต้องอยู่กับบ้าน ๒๒๔ เป็นต้น
๒) ขั้นตอนที่สอง เมื่อได้ร่างเบื้องต้นที่มีตัวชี้วัดจำานวนมากแล้ว กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
จะนำาไปหารือกับผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องเฉพาะด้านนั้นๆ เพื่อให้เกิดการเพิ่มเติมทางความคิด
โดยในขั้นตอนนี้ อาจจะตัดตัวชี้วัดบางตัวออกและอาจจะใส่ตัวชี้วัดบางตัวเพิ่มเข้ามา จากนั้นจะจัด
เตรียมเอกสารร่างตัวชี้วัด เพื่อนำาเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมหารือ (Nationwide Consultation
of Experts and relevant specialists) ซึ่งจะจัดขึ้นในเมืองสำาคัญต่างๆ ทั่วประเทศ ๒๒๕
๓) ขั้นตอนที่สาม เป็นขั้นตอนต่อจากการจัดการประชุมปรึกษาหารือทั่วประเทศ
และได้นำาผลจากการสัมมนาดังกล่าวมาปรับแก้ไข ซึ่งผลที่จะได้รับ คือ ร่างตัวชี้วัดที่ผ่านการเห็นชอบร่วมกัน ๒๒๖
๒๒๒ Ibid. p. 9.
๒๒๓ Ibid. p. 9-11.
๒๒๔ Ibid.
๒๒๕ ibid.
๒๒๖ ibid.