Page 44 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 44
ั
ในขณะที่ชุมชนหลายแห่งในภาค ต่าง ๆ ของประเทศสามารถแก้ไขปญหาได้ภายใต้สถานการณ์
ดังกล่าวนี้ จึงมีข้อเสนอเป็นทางเลือกในการลดความขัดแย้งเรื่องที่ดินลงก็คือให้มี “การบริหารจัดการร่วมกัน
ระหว่างรัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ทางสังคมในลักษณะเครือข่าย” โดยภาครัฐควรจะดําเนินการรวม 4 ประการ คือ
1. กําหนดนโยบายการบริหารจัดการที่ดินที่มีเอกภาพ
2. ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินให้ทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามา
มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนบทบาทเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ทําหน้าที่เป็นผู้อํานวย
ความสะดวกในการมีส่วนร่วม
3. พัฒนากลไกความร่วมมือในการบริหารจัดการที่ดินโดยเฉพาะการจัดทําโครงการพัฒนา
ที่ดินในอนาคตควรดําเนินการร่วมกันระหว่างภาคส่วน ต่าง ๆ ในสังคม ทั้ง ภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น
หรือผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มในลักษณะเครือข่าย
4. ปรับปรุงเครือข่ายระบบข้อมูลที่ดินที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเข้าถึงได้
ั
จะเห็นได้ว่า ปญหาความขัดแย้งในเรื่องการเข้าถึง หรือความไม่เท่าเทียม ความไม่เป็นธรรม
่
ั
ั
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินและปานั้น ไม่ใช่ปญหาการไม่มีข้อกฎหมาย แต่เป็นปญหาที่เกิดจากตัวบทกฎหมาย
ั
และแนวทางการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ ดังเช่น บทความเรื่องปญหาทางกฎหมายในการจัดการที่ดิน
ั
ในประเทศไทย โดย อัจฉรา รักยุติธรรม (2551) สะท้อนให้เห็นถึงปญหาเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า กฎหมายส่วนใหญ่
ที่มีอยู่ในสังคมไทยถูกเขียนขึ้นเพื่อให้อํานาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแก่หน่วยงาน เจ้าหน้าที่รัฐจึงถูกใช้
เป็นเครื่องมือของรัฐในการควบคุมและจํากัดสิทธิประชาชนแต่ไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ประชาชน
ได้ใช้กฎหมายนั้นในการอ้างสิทธิอันพึงมีพึงได้ของตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นบ่อยครั้งรัฐยังอาศัยอํานาจ
ตามกฎหมายเปิดโอกาสหรือเอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุนโดยกีดกันสิทธิของประชาชนจากการเข้าถึง
ทรัพยากร
ั
งานศึกษาจํานวนมากชี้ว่าปญหาสําคัญของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ในประเทศไทย เกิดจากการรับรองระบบกรรมสิทธิ์เพียงสองแบบ ได้แก่ กรรมสิทธิ์ของรัฐ และ
กรรมสิทธิ์ของเอกชนแต่ไม่ยอมรับหลักการจัดการทรัพยากรแบบอื่น ๆ เช่น ระบบกรรมสิทธิ์ร่วม
ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติอันเกิดจากจารีตประเพณีที่ชุมชนท้องถิ่นยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
ั
การใช้ระบบกรรมสิทธิ์สองแบบดังกล่าวทําให้เกิดปญหามากมาย ได้แก่
1) กระบวนการการออกเอกสารสิทธิที่ดินของรัฐมีข้อบกพร่องจํานวนมาก ทําให้การจัดการที่ดิน
ตามตามกฎหมายไม่เกิดประสิทธิภาพ เช่น มีที่ดินจํานวนมากที่ชาวบ้านครอบครองและใช้ประโยชน์
มานานแล้วแต่ตกสํารวจและไม่ได้รับเอกสารสิทธิ
2) การใช้ระบบกรรมสิทธิ์เอกชนเป็นไปตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่
ที่มุ่งแปลงทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นสินค้าเพื่อให้ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้คล่องตัวโดยเชื่อว่า กลไกตลาด
จะช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรมีความเป็นธรรมด้วยกระบวนการแข่งขันอย่างเสรี แต่ความเป็นจริง
ั่
กลไกตลาดกลับทําให้มีการปนราคาที่ดินให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งคนยากจนรวมถึงประชาชนทั่วไป
ั
ไม่มีกําลังจะซื้อที่ดินได้ ยิ่งกว่านั้น ความยากจน ปญหาหนี้สินและความล้มเหลวจากการเกษตรกดดัน
ให้ชาวไร่ชาวนาต้องขายที่ดินและกลายเป็นแรงงานรับจ้างในที่สุด
3‐15