Page 68 - รายงานเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 68

เบ็คคาเรียได้แสดงทัศนะคัดค้านต่อการลงโทษประหารชีวิตอย่างไม่เป็นธรรม
                     โดยได้ต่อต้านการลงโทษประหารชีวิต (Capital Punishment) ที่รัฐและผู้ปกครองลงโทษประชาชน

                     โดยไม่มีหลักกฎหมาย  ไม่มีบรรทัดฐาน  และไม่มีความแน่นอน  มีอคติ  การตัดสินด้วยความรู้สึก

                     และความเชื่อทางศาสนาที่ขาดความชอบธรรม
                                        เบ็คคาเรียเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งหลักการ
                     ของเบ็คคาเรียเกี่ยวกับการลงโทษนั้นมีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีอรรถประโยชน์นิยม

                     (Utilitarianism  Philosophy)  คือ  “ประโยชน์สูงสุดสำาหรับปวงชนจำานวนมากที่สุด”  หมายถึง

                     “การมุ่งคุ้มครองประโยชน์สูงสุดสุดของคนส่วนใหญ่ในสังคม”
                                        เบ็คคาเรียนำามาใช้ในการเสนอเกี่ยวกับอาชญากรรมและการลงโทษ
                     โดยมุ่งป้องกันสังคมจากอาชญากรรมด้วยการข่มขวัญยับยั้ง

                                        แนวความคิดของเบ็คคาเรียตามที่ปรากฏในหนังสือ  “On  Crimes  and

                     Punishments” เกี่ยวกับการลงโทษเพื่อการป้องกันอาชญากรรม (Preventive Punishment) ได้แก่
                                        (๑) การลงโทษมีความจำาเป็น
                                          มนุษย์ทุกคนสามารถกระทำาผิดได้  เนื่องจากมนุษย์มีความเห็นแก่ตัว

                                            พร้อมที่จะฝ่าฝืนสัญญาประชาคม  ถ้าหากสิ่งนั้นก่อให้เกิดประโยชน์

                                            แก่ตนเอง
                                        (๒) เมื่อเป็นดังนั้น  การลงโทษจึงต้องคำานึงถึงความเห็นแก่ตัวของมนุษย์
                                            โดยควรส่งเสริม  “แรงจูงใจ”  ไม่ให้ประโยชน์ของมนุษย์ถูกทำาลาย

                                            โดยกฎหมาย

                                        (๓) การลงโทษ ควรจะมีไว้เพื่อเป็นการป้องกัน โดยการลงโทษเพื่อเป็นการ
                                            ข่มขู่ยับยั้ง (Deterrence) ซึ่งจำาแนกเป็น
                                            ก. การข่มขู่ยับยั้งโดยเฉพาะ (Specific Deterrence) เป็นการลงโทษ

                                                ผู้กระทำาผิดรายบุคคลเพื่อยับยั้งมิให้มีการกระทำาผิดซ้ำา

                                            ข. การข่มขู่ยับยั้งโดยทั่วไป (General Deterrence) เป็นการลงโทษ
                                                ผู้กระทำาผิด เพื่อเป็นตัวอย่างแก่บุคคลทั่วไปในสังคมให้เห็นผลเสีย
                                                ของการกระทำาผิด  เพื่อยับยั้งมิให้บุคคลทั่วไปในสังคมกระทำาผิด

                                                เพราะเกรงกลัวโทษที่จะได้รับ

                                        (๔) การข่มขู่ยับยั้ง  (Deterrence)  การลงโทษเพื่อเป็นการข่มขู่ยับยั้ง
                                            ประกอบด้วยเงื่อนไขสองประการ คือ
                                            ก. การลงโทษจะต้องได้สัดส่วนกับอาชญากรรม

                                            ข. สาธารณชนจะต้องได้รับรู้เข้าใจอย่างแน่ชัดเกี่ยวกับการลงโทษนั้น











                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 55
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73