Page 52 - รายงานเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 52
๔. นักโทษประหารถูกจับนั่งมัดกับหลักไม้กางเขนแบบกาจับหลัก
๕. เพชฌฆาตเอาดินเหนียวอุดหู อุดปาก และแปะไว้ที่ต้นคอนักโทษ เพื่อกำาหนด
ตรงที่จะฟัน จากนั้นเพชฌฆาตดาบสองจะร่ายรำาไปมา เพื่อรอจังหวะให้จิตนักโทษ
สงบ พร้อมกับเพชฌฆาตดาบหนึ่งลงดาบ ฟันคอทันที
๖. เมื่อประหารแล้ว เจ้าหน้าที่จะตัดส้นเท้า เพื่อถอดตรวนออกแล้วสับร่างกาย
หรือแล่เนื้อให้ทานแก่แร้งกา
๗. เอาหัวเสียบประจาน (โทษประหารชีวิตในประเทศไทย, ๒๕๔๘)
๓) ก�รลงโทษประห�รชีวิตในยุคปัจจุบัน
สืบเนื่องมาจากแนวความคิดในยุคปฏิรูประบบกฎหมายในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประเทศไทยเริ่มรับแนวคิดมาจากชาติตะวันตกเป็นอันมาก
ในยุคปัจจุบันนี้ประเทศไทยก็ยังเร่งเดินหน้าสร้างสถาบันตามแบบอย่างตะวันตก ทั้งนี้
แนวความคิดหนึ่งซึ่งประเทศไทยรับมาจากตะวันตกและส่งผลต่อแนวความคิดในการลงโทษประหาร
ชีวิตก็คือ แนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งอันที่จริงแล้วประเทศไทย
ก็มีแนวความคิดในเรื่องดังกล่าวมาแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา เพียงแต่ยังไม่เป็นรูปธรรม
และเห็นได้ชัดเจนนัก แต่แนวความคิดดังกล่าวเริ่มมีอิทธิพลต่อประเทศไทยมากขึ้น นับแต่ในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเด่นชัดและเป็นรูปธรรมมากที่สุดในยุคปัจจุบันนี้
ดังจะเห็นได้จากการมีกฎหมายจำานวนมาก ทั้งกฎหมายในประเทศและกฎหมายระหว่าง
ประเทศซึ่งรับรองและคุ้มครองสิทธิ ที่เรียกกันว่าสิทธิมนุษยชน และกฎหมายระหว่างประเทศฉบับหนึ่ง
ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นแม่แบบของกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชน คือ ปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน ค.ศ. ๑๙๔๘ ซึ่งแม้ว่าโดยสถานะทางกฎหมายแล้ว ปฏิญญาสากลดังกล่าวมิได้มีผลบังคับ
ใดๆ ทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเหตุผลสำาคัญที่ช่วยให้ทุกฝ่ายรอมชอมยอมรับกันได้ และหากพิจารณา
ในแง่ของประเทศไทยแล้ว ประเทศไทยก็ให้การยอมรับนับถือในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก
ขององค์การสหประชาชาติด้วยเช่นกัน อนึ่ง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนดังกล่าวนั้น
มีเนื้อหาครอบคลุมถึงความหมายและหลักการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางรอบด้าน
ทั้งในด้านสิทธิราษฎรและการเมือง และในด้านสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งสิทธิในการมีชีวิต
ก็เป็นสิทธิหนึ่งที่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนรับรองไว้เช่นกัน
จากแนวความคิดดังกล่าวที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงส่งผลต่อแนวความคิด
ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่องการลงโทษ ในปัจจุบันนี้ แม้ตามประมวลกฎหมายอาญาของ
ประเทศไทยจะยังมีการบัญญัติให้โทษประหารชีวิตเป็นโทษหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญาอยู่
แต่แนวความคิดในเรื่องสิทธิมนุษยชนก็ได้ส่งผลและมีอิทธิพลต่อการลงโทษประหารชีวิต
ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้น แม้ยังมีการบัญญัติให้ลงโทษประหารชีวิตได้ แต่กระบวนการ
ในการประหารชีวิตก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยคำานึงถึงสิทธิมนุษยชนและความมีมนุษยธรรม
โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 39