Page 4 - รายงานเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 4

คำ�นำ�










                           ปัจจุบัน  หลายประเทศทั่วโลกมองว่าการลงโทษประหารชีวิตผู้ที่กระทำาความผิดตาม
                  กฎหมายเป็นการกระทำาที่โหดร้าย  ไร้มนุษยธรรม  ขัดต่อหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน
                  และหากกระบวนการยุติธรรมมีข้อผิดพลาดก็อาจเป็นการลงโทษผู้บริสุทธิ์ซึ่งมิได้เป็นผู้กระทำา

                  ความผิดได้  โทษประหารชีวิตจึงเป็นการลงโทษที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จำาเป็นที่สุด

                  สำาหรับบุคคลนั่นคือ  “สิทธิการมีชีวิต”  ซึ่งได้รับการรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                  เพราะสิทธิการมีชีวิตอยู่เป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนพึงมีเสมอกันโดยไม่คำานึงถึงสถานภาพ  ชาติพันธุ์
                  ศาสนา  หรือชาติกำาเนิด  และเป็นสิทธิที่ไม่อาจพรากไปจากบุคคลและถือเสมือนเป็นเอกสิทธิ์ติดตัว

                  ของทุกคนในการธำารงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์



                           ด้วยเหตุที่ปัจจุบันประเทศไทยยังมี  “โทษประหารชีวิต”  อยู่  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                  แห่งชาติ  โดยคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรรมจึงได้

                  มีการศึกษา  เรื่อง  โทษประหารชีวิตในประเทศไทย  ขึ้น  โดยได้รับความร่วมมือจาก  ดร.สุมนทิพย์

                  จิตสว่าง  คณะรัฐศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นผู้ดำาเนินการ  ทั้งนี้  เพื่อเป็นข้อมูลให้กับ
                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในการพิจารณาจัดทำาข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการกำาหนด
                  นโยบายและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภาในการปรับปรุงกฎหมาย  เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                  ซึ่งเป็นอำานาจหน้าที่ประการหนึ่งของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  โดยเป็นการสังเคราะห์

                  ข้อมูลจากหลักคิด  ปฏิญญา  อนุสัญญา  กติการะหว่างประเทศ  ผลการศึกษาวิจัย  ผลการเสวนา
                  บทความ วิทยานิพนธ์ ข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ


























                                                                                                                 ค
   1   2   3   4   5   6   7   8   9