Page 179 - รายงานเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 179
ในสังคมประสบอยู่ในแต่ละวัน หรือผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ล้วนแล้วแต่สะท้อนให้เห็นถึง
ความโหดร้ายทารุณ ความโหดเหี้ยม หรือไร้มนุษยธรรมที่อาชญากรแต่ละรายกระทำาต่อเหยื่อ
ดังนั้น ในทัศนะของประชาชนกลุ่มนี้จึงต้องการเห็นคนที่ทำาผิดได้รับการปฏิบัติที่สาสมกับความผิด
ที่ทำาไป ซึ่งเป็นความยุติธรรมตามแนวปรัชญาแก้แค้นทดแทน โดยให้ได้รับโทษ “ตายตกไปตามกัน”
เพราะการจะใช้โทษจำาคุกกับอาชญากรพวกนี้ จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู
เป็นการสิ้นเปลือง ที่สำาคัญคนเหล่านี้ยากต่อการกลับตัวเข้าสู่สังคม ขณะที่พวกที่ค้ายาเสพติด
ทำาร้ายสังคม และเยาวชนเป็นล้านๆ คน ต้องตกเป็นทาสของยาเสพติด เมื่อเข้าไปอยู่ในเรือนจำาแล้ว
ก็ยังทำาความเดือดร้อนต่อสังคม และก่ออาชญากรรมเรือนจำาได้อีก การขจัดคนเหล่านี้ออกไป
จากสังคมอย่างเด็ดขาดเป็นสิ่งจำาเป็น ประชาชนกลุ่มนี้ไม่เข้าใจว่าเหตุใดคนที่มาทำาร้ายญาติพี่น้อง
หรือคนรัก หรือครอบครัวของเขาอย่างทารุณโหดเหี้ยมจึงต้องได้รับการปกป้อง คุ้มครองสิทธิ
ซึ่งดูเหมือนจะได้รับมากกว่าการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายเสียด้วยซ้ำา
นอกจากนี้ ผู้ที่ต่อต้านการยกเลิกโทษประหารชีวิต ยังมีความเห็นว่าการที่ประเทศต่าง ๆ
ยกเลิกโทษประหารชีวิตก็เพราะเป็นประเทศที่มีความสงบเรียบร้อย ประชาชนมีวินัย และสภาพ
ความเป็นอยู่ที่ดี ไม่มีปัญหาอาชญากรรมที่รุนแรงและแพร่หลาย การบังคับใช้กฎหมายจึงมี
ประสิทธิภาพ ไม่จำาเป็นต้องใช้โทษที่รุนแรง ประชาชนส่วนใหญ่จึงสนับสนุนให้บำาบัดฟื้นฟู
ผู้กระทำาผิดมากกว่าการลงโทษให้เข็ดหลาบ ในขณะที่ประเทศกำาลังพัฒนาอีกหลายประเทศ
ที่แม้จะประสบกับปัญหาอาชญากรรมที่รุนแรง แต่ก็ยังมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตนั้น ก็เพราะ
เพื่อแลกกับการช่วยเหลือ หรือการรับรองจากสหประชาชาติ หรือถูกกดดัน บีบคั้นจากประเทศ
คู่ค้าที่ใช้ปัจจัยด้านสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้าแทนการตั้งกำาแพงภาษี
ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศที่ไม่ยอมยกเลิกโทษประหารชีวิตจะเป็นประเทศที่เป็นมหาอำานาจ หรือมี
อิสรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และประเทศในตะวันออกกลาง
แนวความคิดของฝ่ายนี้จึงคัดค้านการยกเลิกโทษประหารชีวิตอย่างที่สุด
ฝ่�ยที่ ๒ ฝ่�ยคัดค้�นก�รยกเลิกโทษประห�ร แต่ยอมยกเลิกถ้�ปฏิบัติต�มเงื่อนไข
อย่างไรก็ตาม สำาหรับในประเทศไทย กระแสการตอบรับให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต
เริ่มมีเพิ่มมากขึ้นจากผู้ที่เคยไม่เห็นด้วยและคัดค้าน เริ่มมีการยอมรับต่อการยกเลิกโทษประหารชีวิต
มากขึ้น แต่ก็ยังไม่ยอมรับอย่างเต็มที่ กล่าวคือพร้อมที่จะให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต ถ้าเงื่อนไข
บางประการได้รับการแก้ไขหรือบรรเทาเบาบางลง เงื่อนไขดังกล่าว คือ
๑. จะต้องมีการดำาเนินการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมให้มีการบังคับ
ใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะความแน่นอนในการนำาผู้กระทำาผิดมาลงโทษ
ด้วยความรวดเร็ว
๒. พัฒนาสังคมให้มีความสงบเรียบร้อย มีสภาพแวดล้อมที่ดีในการที่จะหล่อหลอม
และพัฒนาจิตใจของผู้คนให้อยู่ในกฎระเบียบ รวมถึงการปรับเปลี่ยนและขจัดปัจจัย
166 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ