Page 160 - รายงานเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 160

อันเป็นการแสดงออกถึงการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้กระทำาผิด ทางเลือกหนึ่ง
                     คือ ให้ปล่อยนักโทษที่จำาคุกมาแล้วสองในสามของโทษ โดยให้ไปบำาเพ็ญประโยชน์แทน หากใช้วิธีนี้

                     ก็จะสามารถลดจำานวนนักโทษได้ราว  ๔๐,๐๐๐  -  ๕๐,๐๐๐  คน  รวมทั้งจะทำาให้การยกเลิก

                     โทษประหารชีวิตเพื่อการจำาคุกที่มีระยะเวลากำาหนดสามารถกระทำาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                     อย่างแท้จริง
                             นอกจากนี้  ควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต  หากแต่มีการใช้โทษจำาคุกที่มีระยะ

                     เวลานานแทน แต่ทั้งนี้ก็ควรกำาหนดเงื่อนไขควบคู่กับการจำาคุกดังกล่าว เช่น กำาหนดว่ามีระยะเวลาหนึ่ง

                     ที่ไม่สามารถลดโทษได้  เพื่อทำาให้ผู้กระทำาผิดได้ชดใช้โทษ  รวมทั้งการสร้างกระบวนการที่โปร่งใส
                     หากจะมีการลดโทษให้แก่นักโทษประหารที่ต้องโทษจำาคุกมาระยะเวลาหนึ่งได้มีโอกาสในการลดโทษ



                             - ควรยกเลิกโทษประห�รชีวิต ห�กแต่ต้องรอระยะเวล�ที่เหม�ะสม

                             ผู้ที่เห็นว่าประเทศไทยควรมีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต หากแต่ต้องรอระยะเวลา
                     ที่เหมาะสม ไม่สมควรจะยกเลิกโทษประหารชีวิตในเวลานี้ เพราะการประหารชีวิตในบางกรณี
                     ก็เหมือนการเชือดไก่ให้ลิงดู  สังคมไทยเป็นสังคมแบบมือถือสากปากถือศีลที่ทำาเหมือนไม่มี

                     ความรุนแรงอยู่แต่ความจริงก็ยังมีความรุนแรงอยู่  จึงเป็นเหตุผลที่ยังต้องมีโทษประหารชีวิตอยู่

                     นอกจากนี้  คุณภาพชีวิตของประชาชนไทยก็มีความแตกต่างจากประเทศที่ยกเลิกโทษประหาร
                     ชีวิตแล้ว  ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว  หากจะยกเลิกโทษประหารชีวิตจำาเป็นต้อง
                     พัฒนาคุณภาพของประชาชนในประเทศ รวมทั้งการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ

                     จนกระทั่งมั่นใจต่อการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เมื่อถึงเวลานั้นการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิต

                     ในประเทศไทยจะมีความเหมาะสม
                             นอกจากนี้ การยกเลิกโทษประหารชีวิตเป็นสิ่งที่ควรกระทำา หากแต่ไม่ควรยกเลิกในเวลานี้
                     เนื่องจากหากจะยกเลิกโทษประหารชีวิตก็ควรมีมาตรการที่เข้ามาทดแทน  และต้องพิจารณาว่า

                     มาตรการนั้นดีเพียงพอแล้วหรือไม่  มาตรการที่ทดแทน  เช่น  การให้ลงโทษจำาคุกตลอดชีวิตแทน

                     โดยเป็นการลงโทษจำาคุกตลอดชีวิตอย่างเคร่งครัด โดยไม่มีการลดโทษและอภัยโทษ หากแต่จะต้อง
                     มีการเตรียมความพร้อมของกระบวนการยุติธรรมต่อภาวะควบคุมนักโทษดังกล่าว  ไม่ว่าจะเป็น
                     งบประมาณในการเตรียมความพร้อมของเรือนจำา  และเจ้าหน้าที่ที่มีจำานวนเพียงพอ  เป็นต้น

                     ซึ่งการยกเลิกโทษประหารชีวิตอาจเป็นไปตามหลักสากลที่ในอนาคตประเทศไทยจะต้องยอมรับ

                     หลักการและมีการยกเลิกการประหารชีวิต แต่ปัจจุบันเมืองไทยยังไม่พร้อมต่อการยกเลิกโทษประหาร
                     ชีวิตซึ่งหากจะยกเลิกโทษประหารชีวิต  ก็ควรยังคงข้อกฎหมายไว้  แต่ปรับที่ทางปฏิบัติไปก่อน
                     เช่น กำาหนดเงื่อนไขห้ามลงโทษประหารชีวิตบุคคลกลุ่มพิเศษและหญิงตั้งครรภ์

                             รวมทั้งในระหว่างที่ประเทศไทยยังคงมีโทษประหารชีวิตอยู่นั้น ซึ่งในอนาคตจะมีการยกเลิก

                     โทษประหารชีวิต  แต่ประเทศไทยควรกำาหนดให้คงโทษประหารชีวิต  แต่ใช้กับความผิดเฉพาะ
                     บางประเภทไปก่อน  ซึ่งจากความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  (ซึ่งเป็นคณะกรรมการ






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 147
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165