Page 127 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 127
111
ตราสารระหว่าง
ประเทศ เนื้อหาที่ใช้ในการพัฒนา เพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวบรวมข้อมูล สถิติ และงานวิจัยที่เหมาะสม
มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบจากหน่วยงานภาครัฐในการด าเนินการตามอนุสัญญา
คุ้มครองสิทธิของผู้พิการ
จัดการ และเสริมสร้างความเข้มแข็ง และออกแบบ จัดตั้งกรอบ หรือกลไกอิสระใน
การส่งเสริม ปกปูอง และติดตามผลการด าเนินงานตามอนุสัญญาคุ้มครองสิทธิของผู้
พิการ
4.2.3.3 ข้อสังเกตเกี่ยวกับการพัฒนาตัวชี้วัดของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
แนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้และ
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ใช้วิธีการก าหนดกรอบในการประเมินกว้างๆ ข้อดีของทั้งสองประเทศ คือ การใช้กรอบที่
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญและตราสารระหว่างประเทศ นอกจากนั้นของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ยังใช้
เปูาหมายการใช้สิทธิมนุษยชนเพื่อใช้ในการก าหนดทิศทางการพัฒนา (Human Rights-Based Approach
for development) แนวทางดังกล่าวใช้ในมิติที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หรืออาจกล่าวได้ว่า
เป็นการใช้ตัวชี้วัดเพื่อน าไปสู่เปูาหมายความส าเร็จในการพัฒนา (goal of achievement) ดังนั้นสาระแห่ง
สิทธิและตัวชี้วัดจึงแตกต่างจากตัวชี้วัดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งตั้งอยู่บนปทัสถานทางกฎหมาย และพันธกรณีระหว่างประเทศ
4.3 สรุปความเห็นจากการศึกษา
แนวทางที่พัฒนาโดยส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีกระบวนการขั้นตอนที่
เหมาะสมในการใช้เป็นแบบอย่างเนื่องจากมีการก าหนดวัตถุประสงค์ในการจัดท าตัวชี้วัดที่ชัดเจน มีการ
ก าหนดสาระแห่งสิทธิที่อยู่บนพื้นฐานของพันธกรณีของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศที่รัฐต้องรายงาน และ
มีการก าหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนพันธะหน้าที่หลักทั้งสามด้านของรัฐคือ เคารพ ปกปูอง และคุ้มครอง
ประการส าคัญคือ กรอบวิธีคิด กระบวนการการจัดท าตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่พัฒนาโดยส านักงาน
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ได้ตอบสนองหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน เช่น
ความเชื่อมโยงของข้อมูลกับตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
ความเป็นสากลและความไม่สามารถลิดรอนได้ของสิทธิมนุษยชน
ความไม่สามารถแบ่งแยกได้ การพึ่งพิงซึ่งกันและกัน และความสัมพันธ์กันระหว่างสิทธิด้านต่างๆ
การเน้นการมีส่วนร่วมและการเสริมสร้างกระบวนการพัฒนา
การไม่เลือกปฏิบัติและมุ่งไปสู่การสร้างเสริมความเท่าเทียม
ความรับผิดชอบของรัฐบาลและความรับผิดชอบขององค์กรต่างๆ และหลักนิติธรรม