Page 115 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 115
99
ส่งเสริมการคุ้มครอง การพัฒนา และความส าเร็จทางด้านสิทธิมนุษยชน
การตรวจสอบ เฝูาระวัง และประเมินผลการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน
ภายในประเทศ
อ านาจหน้าที่ดังกล่าวนี้ได้รับรองไว้ในรัฐบัญญัติฉบับที่ 108 (ค.ศ. 1996) (พ.ศ. 2539)
ได้รับรองอ านาจหน้าที่ของ SAHRC ไว้ท านองเดียวกัน
4.2.2.2 การพัฒนาเพื่อประเมินการด าเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติแอฟริกาใต้ (South African Human Rights Commission :
SAHRC)
ด้วยอ านาจหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น SAHRC จึงได้จัดให้มีเครื่องมือเพื่อใช้ประเมิน
สถานการณ์สิทธิมนุษยชน (measure for assessment of human rights)
ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่พัฒนาขึ้น มุ่งเน้นให้มีความเท่าเทียมกันในด้านเชื้อชาติเป็น
ส าคัญ เนื่องจากเป็นปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มาช้านาน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้
เพื่อรับทราบข้อมูลความก้าวหน้าด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ
ในส่วนของตัวชี้วัดเชิงคุณภาพและตัวชี้วัดเชิงปริมาณ สาธารณรัฐแอฟริกาใต้เน้นให้มี
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ในลักษณะของการเก็บรวบรวมสถิติและการน าเสนอข้อมูล โดยขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ของลักษณะของสิทธิมนุษยชนในแต่ละด้าน เพื่อให้มีความเป็นรูปธรรมและสามารถเห็นผลต่างได้อย่างชัดเจน
เพราะตัวชี้วัดเชิงปริมาณสามารถน ามาเปรียบเทียบเพื่อชี้ให้เห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลาได้อีกด้วย
ซึ่งจะท าให้เห็นแนวโน้มของการพัฒนาสิทธิมนุษยชนได้ดียิ่งขึ้น
ในแต่ละปี หน่วยงานของรัฐจะต้องให้ข้อมูลที่ชี้วัดว่าหน่วยงานต่างๆ เหล่านั้นได้
ด าเนินการเพื่อน าไปสู่ความเป็นรูปธรรมของสิทธิต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสิทธิในเรื่องของที่อยู่อาศัย
สาธารณสุข อาหาร น้ า ความมั่นคงทางสังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม แก่ SAHRC
4.2.2.3 วัตถุประสงค์ของการจัดท าเครื่องมือในการจัดท าตัวชี้วัด
1) เพื่อสร้างเครื่องมือในการติดตามและตรวจสอบสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนใน
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้
2) เพื่อแสดงข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ที่ละเอียด ทันสมัย
และถูกต้อง
3) เพื่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์ตามที่กฎหมายก าหนดไว้ส าหรับ SAHRC