Page 26 - รายงานฉบับสมบูรณ์ นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย-พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม
P. 26
๑๗
รายงานศึกษาวิจัย “นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนชายแดนไทย – พม่า : กรณีผู้อพยพจากภัยสงคราม”
ในปัจจุบัน มีประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย แล้วทั้งสิ้น ๑๔๔
ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔)
๕) การตั้งข้อสงวน
อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ได้อนุญาตให้รัฐภาคีตั้งขอสงวนได้ เว้นแต่เป็น
เรื่องที่มีความส าคัญอย่างยิ่ง ซึ่งมาตรา ๔๒ ได้ห้ามการตั้งข้อสงวน เช่น เรื่องค าจ ากัดความของค าว่า
ผู้ลี้ภัย การห้ามการเลือกปฏิบัติ สิทธิทางการนับถือศาสนา สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม การ
ห้ามผลักดันกลับ
๖) ผลของการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญา
เมื่อเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาฯ รัฐจะมีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ
ดังต่อไปนี้
- รัฐภาคีจะให้ความร่วมมือกับส านักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติในการปรับใช้
บทบัญญัติในอนุสัญญานี้
- รัฐภาคีจัดหาข่าวสารและข้อมูลทางสถิติซึ่งส านักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติร้องขอ
เพื่อจัดท ารายงานต่อองค์กรซึ่งมีอ านาจของสหประชาชาติ
ในเรื่องที่เกี่ยวกับกับ สภาวะของผู้ลี้ภัย , การอนุวัติการของอนุสัญญานี้, และ กฎหมาย ข้อบังคับ
ซึ่งมีผลบังคับหรืออาจจะมีผลบังคับอันเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย
- รัฐภาคีจะแจ้งให้เลขาธิการสหประชาชาติทราบถึงกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่ง
รัฐอาจ ด าเนินการเพื่อปฏิบัติตามอนุสัญญานี้
๒.๑.๒ เหตุผลที่รัฐควรเข้าเป็ นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ.
๑๙๕๑ สาเหตุหลักที่รัฐควรเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาฯ คือ
๑) เป็นการแสดงถึงพันธกรณีของรัฐในการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยตามกฎหมายระหว่างประเทศอัน
เป็นที่ยอมรับและตามมาตรฐานด้านมนุษยธรรม