Page 93 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 93
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
(๓) และให้นำาบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. ดังกล่าวในวรรคสอง
มาใช้บังคับ (ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนแจ้งแก่ผู้มีหน้าที่ไปทำาการ
ชันสูตรพลิกศพทราบ และก่อนการชันสูตรพลิกศพให้พนักงานสอบสวน
แจ้งให้สามี ภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือ
ญาติของผู้ตายอย่างน้อยหนึ่งคนทราบเท่าที่จะทำาได้)
(๔) เมื่อได้มีการชันสูตรพลิกศพตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๐
วรรคสามแล้ว ให้พนักงานสอบสวนแจ้งพนักงานอัยการเข้าร่วมกับพนักงาน
สอบสวน ทำาสำานวนชันสูตรพลิกศพให้เสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่
ได้รับแจ้ง
(๕) ถ้ามีความจำาเป็นให้ขยายระเวลาออกไปได้ไม่เกิน
สองครั้ง ครั้งละสามสิบวัน แต่ต้องบันทึกเหตุผลและความจำาเป็นในการขยาย
ระยะเวลาทุกครั้งไว้ในสำานวนชันสูตรพลิกศพ สำาหรับในส่วนของตำารวจ
ในภาคต่างๆ ต้องปฏิบัติตามหนังสือ ที่ มท ๑๙๘๕๐/ ๒๕๐๑ ลงวันที่ ๑๒
ธันวาคม ๒๕๐๑ และ ที่ มท ๐๓๐๗.๑/ว ๑๐๘ ลงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๑ ด้วย
๓.๖.๖ แนวทางปฏิบัติกรณีแพทย์เป็นผู้ถูกกล่าวหาคดีอาญา
เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยร้องเรียนต่อแพทยสภา
หรือแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าทำาการ
ตรวจรักษาผู้ป่วยจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต จากการตรวจรักษามากขึ้น
สำานักงานตำารวจแห่งชาติจึงได้มีหนังสือ (โปรดดู หนังสือสำานักงานตำารวจ
แห่งชาติ ที่ ๐๐๓๑.๒๑๒/ว ๙๑ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๙) กำาหนด
แนวทางการดำาเนินคดีอาญากรณีแพทย์ถูกกล่าวหาว่าทำาการตรวจรักษา
ผู้ป่วยจนเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ให้มีมาตรฐานเป็นไปในทางเดียวกัน
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ดังนี้
69