Page 97 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 97
“อย่างข้าวที่ปลูก เคยสนับสนุนให้ปลูกข้าวให้พอเพียงกับตัวเอง แต่ละ
ครอบครัวเก็บเอาไว้ในยุ้งเล็กๆ แล้ว ถ้ามีพอก็ขาย”
“เลยได้สนับสนุนบอกว่าให้เขาปลูกข้าวบริโภค เขาจะชอบข้าวเหนียวก็ปลูก
ข้าวเหนียว เขาจะชอบปลูกข้าวอะไรก็ตาม ให้เขาปลูกข้าวอย่างนั้น และเก็บไว้เพื่อ
ที่จะบริโภคตลอดปี ถ้ามีที่ที่จะทำานาปรัง หรือมีที่มากพอสำาหรับปลูกข้าว ก็ปลูกข้าว
หอมมะลิเพื่อที่จะขาย”
(พระราชดำารัสเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐)
การทำาเกษตรกรรมต้องมีนำ้า เป็นทรัพยากรหลักให้เกษตรกรรมเจริญงอกงาม พระองค์
มีพระราชดำารัสว่า “ไม่มีทางที่จะมีความเจริญได้ ถ้าไม่มีนำ้า” เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖
ดังนั้น ปัญหาความขาดแคลนนำ้าจึงมีผลต่อการเพาะปลูกของเกษตรกรมาก พระองค์ทรงใช้
เวลาหลายปีที่ทำาการวิจัยและทดลอง เพื่อหาแนวทางการทำาการเกษตรแบบยั่งยืน พุทธศักราช ๒๕๓๕
พระองค์ทรงริเริ่มพัฒนาวิธีการเพาะปลูกแบบผสมผสานและยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัยนำ้าในปริมาณที่พอเพียง
โดยเฉพาะการทดลองที่ตำาบลเขาวง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น พระองค์มีพระราชดำารัสว่า
“วิธีแก้ไขคือต้องเก็บนำ้าฝนที่ลงมา ก็เกิดความคิดอยากทดลองดูสัก ๑๐ ไร่
ในที่อย่างนั้น ๓ ไร่ จะทำาเป็นบ่อนำ้า คือ เก็บนำ้าฝน แล้วถ้าจะต้องใช้บุด้วยพลาสติก
ก็บุด้วยพลาสติก ทดลองดูแล้วอีก ๖ ไร่ ทำาเป็นที่นา ส่วนไร่ที่เหลือนั้นก็เป็นที่บริการ
หมายถึง ทางเดิน หรือเป็นกระต๊อบหรืออะไรก็แล้วแต่ หมายความว่านำ้า ๓๐ เปอร์เซ็นต์
ที่ทำานา ๖๐ เปอร์เซ็นต์”
(พระราชดำารัสเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕)
พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น 97