Page 76 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 76

ลักษณะการทำางานของโครงการดังกล่าวนั้นสามารถสรุปได้ดังนี้

                      ๑.  โครงการของพระองค์เป็นโครงการที่ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในขณะที่ราษฎรกำาลัง
               ประสบความเดือดร้อนอยู่ ทรงมุ่งเน้นถึงความจำาเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ ดังพระราชดำารัสความว่า


                             “ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออก….เป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน
                      แต่ปวดหัวใช้ยาแก้ปวด…. หรือยาอะไรก็ตามแก้ปวดหัว มันไม่ได้แก้จริง แต่ต้องแก้

                      ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่จะคิดได้ แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือแบบแมคโคร
                      (MACRO) เขาจะทำาแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย...อย่างบ้านคนอยู่ เราบอกบ้านนี้

                      มันผุตรงโน้นผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะไปซ่อม..เอาตกลงรื้อบ้านนี้ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ไหน
                      ไม่มีที่อยู่ ก็ต้องคิดเสียก่อนแล้วค่อยๆ ดู ตรงนี้ยังพออยู่ได้….ไปรื้อตรงห้องโน้น แล้วก็
                      ค่อยๆ สร้าง แล้วมารื้อตรงห้องนี้.. วิธีทำาจะต้องค่อยๆ ทำา จะไประเบิดหมดไม่ได้..”

                      การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจึงเป็นประเด็นสำาคัญ เหมือนแก้อาการปวดหัวก่อน รักษาตนให้
               แข็งแรงเพื่อดำารงอยู่ต่อไปได้


                      ๒.  โครงการของพระองค์มีการพัฒนาไปตามขั้นตอน ตามลำาดับของความจำาเป็น เพื่อให้มี
               รากฐานที่มั่นคง แล้วจึงดำาเนินการให้มีความเจริญก้าวหน้า ทรงมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

               โดยใช้ปรัชญาการพึ่งพาตนเองให้อยู่ได้ พระองค์ทรงเรียกว่า “ระเบิดจากข้างใน” คือ ทำาให้หมู่บ้าน
               มีความแข็งแรงด้วยตนเองก่อนแล้วออกไปสู่สังคมภายนอก

                      ๓.   โครงการของพระองค์ทำาให้ประชาชนสามารถพัฒนาตนให้อยู่ได้ในสังคมปัจจุบันตาม

               สภาพ โดยมีความสามารถ “พึ่งตนเอง” ได้ โดยมีแนวทางพระราชดำาริเป็นหลักของการดำารงอยู่ เช่น
               ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” หลักคุณธรรม ๔ ประการ เป็นต้น


                      ๔.   โครงการของพระองค์ได้เสริมสร้างความรู้ในการทำามาหากิน การทำาการเกษตรโดยใช้
               เทคโนโลยีสมัยใหม่ พระองค์ทรงมุ่งเน้นการมีตัวอย่างของความสำาเร็จ ที่ช่วยให้พึ่งตนเองได้ เพื่อให้
               ราษฎรมีโอกาสได้เห็นเรียนรู้จริง และนำาไปปฏิบัติได้เอง


                      การตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ ในภูมิภาคต่างๆ ก็เพื่อเป็นสถานที่
               ศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนาวิธีการให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การทำามาหากินของราษฎร

               ในภูมิภาคนั้นๆ จึงเป็นการพัฒนาเพื่อมนุษยชาติ ดังพระราชดำารัสถึงศูนย์ศึกษาการพัฒนา ความว่า

                             “เป็นการสาธิตการพัฒนาเบ็ดเสร็จ หมายถึงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างทุกด้าน
                      ของชีวิต ประชาชนที่จะหาเลี้ยงชีพในท้องที่จะทำาอย่างไร และได้เห็นวิทยาการ

                      แผนใหม่จะสามารถที่จะหาดูวิธีการจะทำามาหากินให้มีประสิทธิภาพ..”
                             “ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาฯ ก็เป็นสถานที่สำาหรับค้นคว้าวิจัย

                      ในท้องที่เพราะว่าแต่ละท้องที่สภาพฝนฟ้าอากาศ และประชาชนในท้องที่ต่างๆ กัน
                      ก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน”


              76     พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81