Page 37 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 37
36 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
กรอบของระบบทุนนิยม ลักษณะความเป็นชุมชนของร้านกาแฟแห่งนี้แทนที่ลัทธิปัจเจกชนนิยมซึ่งเป็นค่านิยม
ที่สังคมทุนนิยมให้ความสําคัญ
นอกจากร้านกาแฟ ในนาครเขษมยังมีร้านขายของเก่าที่พี่มาโนชเป็นเจ้าของ พี่มาโนชต่างจากชาว
นาครเขษมคนอื่นๆ ในขณะที่งานเป็นสิ่งจําเป็นที่ขาดไม่ได้สําหรับคนเมือง ทุกคนต้องทํา “งาน” และทุกคนต่าง
มีสถานภาพเป็น “ลูกจ้าง” หรือไม่ก็ “นายจ้าง” แต่พี่มาโนชไม่ทําทั้งงานและไม่มีสถานภาพเป็น เจ้านาย หรือ
ลูกน้อง ที่ทุกคนในเมืองต้องมี และเนื่องจากคําว่า “งาน” เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายในนาครเขษมแห่งนี้ ผู้อ่าน
จึงไม่อาจมองว่าพี่มาโนชเป็นคนว่างงาน โดยใช้ตรรกะหรือกรอบความคิดในแบบทุนนิยมของโลกภายนอกมา
ตัดสิน เนื่องจากพี่มาโนชไม่เคยดําเนินชีวิตภายใต้ระบบทุนนิยม พี่มาโนชจึงแตกต่างจากตัวละครอื่น แม้แต่
เสียงถอนหายใจของพี่มาโนชยังต่างจากชาวนาครเขษมที่เคยเป็นพนักงานออฟฟิศ พี่มาโนชเป็นตัวละครใน
นาครเขษมเพียงคนเดียวที่ไม่ตามหาสิ่งขาดหายไปในชีวิตเพราะพี่มาโนชไม่เคยรู้สึกล้มเหลวในชีวิต
การอยู่นอกระบบทุนนิยมยังช่วยให้พี่มาโนชมีมุมมองที่ต่างไปจากชาวนาครเขษมคนอื่น ขณะที่โลก
ภายนอกกําลังเห่อของใหม่ พี่มาโนชกลับนิยมของเก่า พี่มาโนชจะมีคําพูดติดปากว่า “ของใหม่วันหนึ่งก็ต้อง
กลายเป็นของเก่า แต่ของเก่ายังไงก็ยังเป็นของเก่า” (คอยนุช, 2549: 24) พี่มาโนชชี้ให้เห็นว่า “ความเก่า”
และ “ความใหม่” เป็นผลผลิตของแนวคิดเรื่องเวลา พี่มาโนชเชื่อว่าหากเราปรับเปลี่ยนแนวคิดเรื่องเวลาใน
แบบอื่น เราอาจไม่เจอคําว่า “ความใหม่” หรือ “ความเก่า” “ถ้าเราเดินถอยหลังได้ตลอดไปเมื่อไร เมื่อนั้น
ของใหม่จะไม่มีวันเป็นของเก่า และถ้าเรายืนอยู่กับที่ได้ตลอดชีวิตเมื่อไร เมื่อนั้นจะไม่มีทั้งของเก่าและ
ของใหม่” (คอยนุช, 2549: 24) เวลาที่ดําเนินไปข้างหน้าเป็นเส้นตรงทําให้สิ่งของเปลี่ยนสภาพกลายเป็น
“ของเก่า” แต่หากเราปฏิเสธแนวคิดเวลาดังกล่าวและนําเสนอทางเลือกอื่น เช่น การย้อนเวลา หรือการดํารง
อยู่ในโลกไร้กาลเวลา “ความเก่า” และ “ความใหม่” ก็จะกลายเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย การวิพากษ์แนวคิด
เรื่องเวลา ยังเห็นได้จากกิจกรรมที่พี่มาโนชทําไม่อยู่ในกรอบของเวลาทุนนิยมหรือเวลาตามเข็มนาฬิกา
สําหรับพี่มาโนช เวลาพักเที่ยงสามารถเป็นเวลาใดก็ได้ ร้านขายของเก่าของพี่มาโนชไม่เปิด-ปิดตามเวลา
“เวลาเปิดเวลาปิดของร้านขึ้นอยู่กับว่าพี่มาโนชอยากจะเปิดประตูปิดประตูเมื่อไร” (คอยนุช, 2549: 11) ใน
บรรดาผู้ที่อาศัยอยู่ในนาครเขษม พี่มาโนชดูเหมือนจะเป็นตัวละครเพียงคนเดียวที่มีความสุข มีอิสระ เป็นตัว
ของตัวเองมากที่สุดเพราะพี่มาโนชไม่เคยออกนอกนาครเขษม ไม่เคยดํารงชีวิตอยู่ภายใต้กรอบของเวลา เป็น
อิสระจาก “เวลางาน”/“งานประจํา” ภายใต้กรอบเวลาของระบบทุนนิยม