Page 30 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 30
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 29
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับวิชัย McRuer (2003: 84-85) ชี้ให้เห็นว่าร่างกายที่มีสมรรถภาพเป็นเงื่อนไขหนึ่งใน
การประกอบสร้างเพศวิถีแบบรักต่างเพศ แม้ว่าความเชื่อมโยงระหว่างสองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่คนมักมองข้าม
In feminism and queer theory, of course, the work of Judith Butler ahs most
famously established that heterosexuality constitutes itself through
performance…. Even more unremarked at this point, however, is the ubiquity of
ability and disability in and around these heterosexual performances. Although
queer theorists are now used to unpacking how performances of heterosexuality
depend on gay bodies and their repudiation, and although scholars in disability
studies are sued to noting the unacknowledged ubiquity of disability in our
culture, neither field seems particularly or actively conscious of how
performances of heterosexuality might have some relation to ability and
disability.
เนื่องจาก McRuer ศึกษาประเด็นเรื่องความมีสมรรถภาพ (ability) และความไร้สมรรถภาพ
(disability) จากมุมมองของเควียร์ McRuer จึงไม่ได้พูดถึงอายุ อย่างไรก็ตามการเชื่อมโยง เพศวิถีแบบรักต่าง
เพศกับความมีสมรรถภาพของร่างกาย ไม่สามารถปฏิเสธประเด็นเรื่องอายุ ความสัมพันธ์แบบรักต่างเพศ
จํากัดอยู่ในวัยที่เหมาะสมเท่านั้น ได้แก่ กลุ่มคนวัยหนุ่มสาว ซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถมีร่างกายที่มีสมรรถภาพ
เพศ (gender) จึงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอายุ (age) กฎเกณฑ์ที่บุคคลต้องปฏิบัติตามเพื่อแสดงออกถึงความเป็น
“ปกติ” เป็นชุดของกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ในกรณีของวิชัย ความเป็นชายไม่ได้
หมายความเพียงแค่การประพฤติตนในกรอบเรื่องเพศเท่านั้น หากยังมีปัจจัยเรื่องอายุเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
การสูญเสียความเป็นชายของวิชัยเกิดขึ้นหลังจากที่เขามีอายุครบ 40 ความเป็นชายเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขของ
การมีร่างกายที่มีสมรรถภาพซึ่งเป็นร่างกายของคนวัยหนุ่มสาว เมื่อวิชัยอายุครบ 40 ปี และถูกสังคมตีตราว่า
เป็น “ของเก่า” หมดสมรรถภาพใช้การไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้นความเป็นชายของวิชัยจึงหมดสิ้นไปด้วย
อย่างไรก็ตาม สําหรับผู้หญิงไม่เพียงแต่ร่างกายที่แข็งแรงและสมบูรณ์ (able body) เท่านั้นที่มาเป็น
สิ่งกําหนดความเป็นหญิง เรือนกายที่มีความงาม (beautiful body) ยังเป็นปัจจัยสําคัญอีกด้วย ดังเห็นจาก
กรณีของนภาผู้หญิงที่มีฝ้ารูปแผนที่แอฟริกาบนใบหน้า นภาเป็นพนักงานพิมพ์ดีดก่อนที่จะมาอยู่ในนาครเขษม
เธอหมกมุ่นอยู่กับงานจนไม่ทราบว่ามีฝ้าขึ้นบนใบหน้า จนกระทั่งวันที่เธออายุ 40 ปีพอดี ฝ้าบนใบหน้าได้ขยาย
ใหญ่จนกลายเป็นแผนที่แอฟริกา ”วันที่เธอสังเกตเห็นฝ้าที่แก้มซ้าย เธอเริ่มคิดว่ายังไม่ได้มีเวลาไปตามหาชาย
หนุ่มที่เป็นเนื้อคู่ของเธอเลย ฉะนั้นเธอจึงยังไม่ได้มีเวลามีลูก” (คอยนุช, 2549: 31) ฝ้ารูปแผนที่แอฟริกาเป็น
สัญลักษณ์ของการเข้าสู่วัยทองของนภา วาทกรรมทางการแพทย์มีบทบาทสําคัญในการให้ความหมายแก่วัย
ทองว่าเป็นวัยที่ผู้หญิงเข้าสู่ภาวะร่วงโรยเสื่อมถอย เนื่องจากวัยทองเป็นวัยที่ผู้หญิงเริ่มหมดระดู รังไข่หยุดผลิต