Page 23 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 23

22       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน




                                                                                 ชุติมา ประกาศวุฒิสาร









                บทคัดย่อ
                       เควียร์เป็นคําที่สังคมใช้เรียกกลุ่มคนที่อยู่นอกกฏเกณฑ์บรรทัดฐานที่สังคมวางไว้ กลุ่มเควียร์จึงไม่

                จํากัดอยู่เฉพาะเกย์และเลสเบียนเท่านั้น หากหมายรวมถึงคนกลุ่มอื่น เช่น ผู้พิการ ผู้มีเชื้อเอดส์หรือเอชไอวี
                ผู้สูงอายุ ที่มีรูปแบบชีวิตต่างไปจากขนบของสังคม อย่างไรก็ตามเราไม่อาจปฏิเสธกลุ่มเกย์และเลสเบียนว่ามี

                อิทธิพลต่อเควียร์ศึกษา นักทฤษฏีเควียร์ที่ศึกษาเรื่องเพศมุ่งวิพากษ์ขนบรักต่างเพศที่สังคมใช้แบ่งแยก “ความ
                ปกติ” ออกจาก “ความผิดปกติ” การนําเอาทฤษฏีเควียร์มาใช้ในการศึกษาเรื่องอายุและความสูงวัยที่ปรากฏ

                ในนวนิยายขนาดสั้นของคอยนุชเรื่อง นาครเขษม เผยให้เห็นอุดมการณ์ของสังคมทุนนิยมที่ยึดถือรักต่างเพศ
                ที่มากําหนดความหมายของความสูงวัยและความพยายามของตัวละครที่ถูกสังคมนิยามว่าเป็นเสมือน “ของ

                เก่า” ในการรื้อถอนความหมายทางลบที่สังคมนิยามให้แก่ผู้สูงวัย การนําทฤษฏีเควียร์มาศึกษาเรื่องความสูง
                วัยใน นาครเขษม ยังชี้ให้เห็นว่าเพศเชื่อมโยงกับเรื่องอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรณรงค์เรียกร้องของกลุ่มผู้สูง

                วัยที่ในนวนิยายขนาดสั้นเรื่องนี้ที่คล้ายคลึงกับการรณรงค์เรียกร้องของกลุ่มเกย์และเลสเบียน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28