Page 50 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 50

บทคัดย่อ





                       เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ช่องว่างที่เกิดขึ้นของนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการ

               ลงทุนของประเทศ ตามหลักการ UNGP ทั้งเสาหลักที่ 1 (protect) และเสาหลักที่ 3 (remedy) ว่านโยบาย
               กฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นอุปสรรคหรือเอื้อให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชน และจัดทำเป็น

               ข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมให้การลงทุนของภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนและมีการ

               เยียวยาที่มีประสิทธิผลหากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น ตลอดจนใช้สนับสนุนการทำงานตามกฎหมาย
               ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการตรวจสอบ เรื่องร้องเรียน การเฝ้าระวังสถานการณ์สิทธิ

               มนุษยชน และการเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเด็นที่
               เกี่ยวข้องกับธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน


                       งานวิจัยชิ้นนี้อาศัยการวิเคราะห์ช่องว่าง หรือ Gap analysis เพื่อศึกษาว่ากลไกคุ้มครองสิทธิ
               มนุษยชนของภาครัฐทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ เพียงพอต่อข้อกำหนดใน UNGP หรือไม่

               อย่างไร มีช่องว่างในประเด็นใดบ้าง มีมาตรการใดที่ยังไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ โดยแยกการวิเคราะห์ออกเป็น 2

               ส่วน ได้แก่ 1. การวิเคราะห์ กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่มีอยู่
               ในปัจจุบัน (actual) เทียบกับ 2. กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่

               ควรจะเป็น (desired) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสังคมทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ ซึ่ง
               ผลการวิเคราะห์จะทำให้เห็นช่องว่างที่เกิดขึ้นจริงและนำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อสนับสนุนการพัฒนากลไกการ

               คุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนของภาครัฐต่อไป

                       ผลการศึกษาพบว่าช่องว่างที่เกิดขึ้น เกิดทั้งในระดับรัฐธรรมนูญ และเกิดขึ้นในระดับย่อยแยกรายสิทธิ

               งานวิจัยชิ้นนี้เจาะลึกในสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจที่สำคัญรวม 9 สิทธิ ได้แก่ 1) สิทธิผู้ถือหุ้น 2)

               สิทธิแรงงาน 3) สิทธิสำหรับธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน 4) สิทธิชุมชน ที่ดินและสิ่งแวดล้อม 5) การลงทุนระหว่าง
               ประเทศและบรรษัทข้ามชาติ 6) สิทธิผู้บริโภค 7) สิทธิประชากรกลุ่มเฉพาะ 8) ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน และ 9)

               ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในกรณีของรัฐวิสาหกิจ

                       ช่องว่างทางกลไกคุ้มครองทางสิทธิมนุษยชน ณ ปัจจุบัน มักปรากฏในรูปของช่องว่างของกฎหมายที่

               เอื้อให้เกิดการละเมิด การบังคับใช้กฎหมายที่ยังขาดประสิทธิภาพยามดำเนินการจริง และขาดการบูรณาการ

               ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนอกภาครัฐ ในแง่นี้ เพื่อเติมเต็มช่องว่างของกลไกที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อนำไปสู่กลไก
               การคุ้มครองและเยียวยาที่ดียิ่งขึ้น ภาครัฐจำเป็นจะต้องดำเนินการด้านการปรับแก้กลไกทางกฎหมาย และ

               ดำเนินการด้านการบูรณาการร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น









                                                            ๑
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55