Page 5 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 5

บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary)





                       คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) ได้มีการวางกรอบ

               แนวคิดทางด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน บน 3 เสาหลัก ได้แก่

                       1. การป้องกัน (Protect) – ภาครัฐมีหน้าที่ในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยบุคคลที่สาม

                       2. การเคารพ (Respect) – ภาคธุรกิจมีหน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชน
                       3. การเยียวยา (Remedy) – การขยายขอบเขตการเข้าถึงให้ผู้ที่ถูกละเมิดทางด้านสิทธิมนุษยชน

               สามารถเข้าถึงกระบวนการเยียวยา ทั้งในรูปแบบที่ผ่านกระบวนการยุติธรรม และการดำเนินคดีในศาล และ

               รูปแบบที่อยู่นอกเหนือจากกระบวนการยุติธรรมทางศาล เช่น กระบวนการไกล่เกลี่ยนอกศาล

                       จากกรอบแนวคิดข้างต้น จะพบว่า บทบาทของภาครัฐจะมีความเกี่ยวข้องกับเสาหลักที่ 1 (การ

               ป้องกัน) และเสาหลักที่ 3 (การเยียวยา) เป็นหลัก ซึ่งยังพบว่ามีช่องว่างในองค์ความรู้ที่สำคัญ คือ การ
               วิเคราะห์กลไกของทั้งเสาหลักที่ 1 และเสาหลักที่ 3 ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่ามีช่องว่างในเชิงกลไกการป้องกัน

               และเยียวยามากน้อยเพียงใดในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

                       สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จึงได้เห็นควรให้มีโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง

               “การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National Baseline Assessment on
               Business and Human Rights) : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ” ขึ้น

               เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ช่องว่างที่เกิดขึ้นของนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการลงทุนของ

               ประเทศ ตามหลักการ UN Guiding Principles on Business and Human Rights หรือ UNGP ทั้งเสาหลัก
               ที่ 1 (protect) และเสาหลักที่ 3 (remedy) ว่านโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นอุปสรรค

               หรือเอื้อให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชน และจัดทำเป็นข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริม
               ให้การลงทุนของภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนและมีการเยียวยาที่มีประสิทธิผลหากมีการละเมิดสิทธิ

               มนุษยชนเกิดขึ้น ตลอดจนใช้สนับสนุนการทำงานตามกฎหมายของ กสม. ในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน การ

               เฝ้าระวังสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และการเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ
               มนุษยชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน


                       งานวิจัยชิ้นนี้อาศัยการวิเคราะห์ช่องว่าง หรือ Gap analysis เพื่อศึกษาว่ากลไกคุ้มครองสิทธิ
               มนุษยชนของภาครัฐทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจเพียงพอต่อข้อกำหนดตามหลักการชี้แนะ

               เรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจตามกรอบงานขององค์การสหประชาชาติในการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยา

               หรือไม่อย่างไร มีช่องว่างในประเด็นใดบ้าง มีมาตรการใดที่ยังไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ โดยแยกการวิเคราะห์
               ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. การวิเคราะห์กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของ

               ภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน (actual) เทียบกับ 2. กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ
               ของภาครัฐที่ควรจะเป็น (desired) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสังคมทางด้านสิทธิมนุษยชนและการ



                                                            ii
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10