Page 96 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 96

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                               หน้า   ๘๗
                      เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                              (๕)  ในระหว่างที่ยังไม่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลในบัญชีรายชื่อสํารองขึ้นเป็นสมาชิกวุฒิสภา
                      แทนตําแหน่งที่ว่างตาม  (๔)  หรือเป็นกรณีที่ไม่มีรายชื่อบุคคลเหลืออยู่ในบัญชีสํารอง  หรือไม่มีผู้ดํารงตําแหน่ง

                      ที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตําแหน่ง  ไม่ว่าด้วยเหตุใด  ให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาเท่าที่มีอยู่
                              (๖)  เมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลงตาม  (๔)  ให้ดําเนินการเลือกสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา  ๑๐๗  ต่อไป

                      และให้นําความในมาตรา  ๑๐๙  วรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม
                              มาตรา  ๒๗๐  นอกจากจะมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว  ให้วุฒิสภา

                      ตามมาตรา  ๒๖๙  มีหน้าที่และอํานาจติดตาม  เสนอแนะ  และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
                      ตามหมวด  ๑๖  การปฏิรูปประเทศ  และการจัดทําและดําเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ  ในการนี้  ให้คณะรัฐมนตรี

                      แจ้งความคืบหน้าในการดําเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาเพื่อทราบทุกสามเดือน
                              ร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดําเนินการตามหมวด  ๑๖  การปฏิรูปประเทศ  ให้เสนอ

                      และพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
                              ร่างพระราชบัญญัติใดที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดําเนินการ

                      ตามหมวด  ๑๖  การปฏิรูปประเทศ  ให้แจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบพร้อมกับการเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้น
                      ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมิได้แจ้งว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดําเนินการตามหมวด  ๑๖

                      การปฏิรูปประเทศ  หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็น
                      ร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดําเนินการตามหมวด  ๑๖  การปฏิรูปประเทศ  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                      หรือสมาชิกวุฒิสภาจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของแต่ละสภา  อาจเข้าชื่อกันร้องขอต่อประธานรัฐสภา
                      เพื่อให้วินิจฉัย  การยื่นคําร้องดังกล่าวต้องยื่นก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา  แล้วแต่กรณี  จะพิจารณา

                      ร่างพระราชบัญญัตินั้นแล้วเสร็จ
                              เมื่อประธานรัฐสภาได้รับคําร้องตามวรรคสาม  ให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการร่วม

                      ซึ่งประกอบด้วยประธานวุฒิสภาเป็นประธาน  รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง  ผู้นําฝ่ายค้าน
                      ในสภาผู้แทนราษฎร  ผู้แทนคณะรัฐมนตรีคนหนึ่ง  และประธานคณะกรรมาธิการสามัญคนหนึ่งซึ่งเลือกกันเอง

                      ระหว่างประธานคณะกรรมาธิการสามัญในวุฒิสภาทุกคณะเป็นกรรมการ  เพื่อวินิจฉัย
                              การวินิจฉัยของคณะกรรมการร่วมตามวรรคสี่ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ  คําวินิจฉัยของ

                      คณะกรรมการร่วมดังกล่าวให้เป็นที่สุด  และให้ประธานรัฐสภาดําเนินการไปตามคําวินิจฉัยนั้น
                              มาตรา  ๒๗๑  ในวาระเริ่มแรกภายในอายุของวุฒิสภาตามมาตรา  ๒๖๙  การพิจารณา

                      ร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรยับยั้งไว้ตามมาตรา  ๑๓๗  (๒)  หรือ  (๓)  ให้กระทํา
                      โดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา  ถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นเกี่ยวกับ

                              (๑)  การแก้ไขเพิ่มเติมโทษหรือองค์ประกอบความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตําแหน่ง
                      หน้าที่ในการยุติธรรม  หรือความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ  เฉพาะเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น

                      มีผลให้ผู้กระทําความผิดพ้นจากความผิดหรือไม่ต้องรับโทษ



                                                                                                            87




                         .indd   87                                                                               27/8/2562   12:27:11
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101