Page 18 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 18

กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ





                                                                หน้า   ๙
                      เล่ม   ๑๓๔   ตอนที่   ๔๐   ก          ราชกิจจานุเบกษา                    ๖   เมษายน   ๒๕๖๐


                              การทรมาน  ทารุณกรรม  หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทํามิได้
                              มาตรา  ๒๙  บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา  เว้นแต่ได้กระทําการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลา
                      ที่กระทํานั้นบัญญัติเป็นความผิดและกําหนดโทษไว้  และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่บัญญัติไว้ใน

                      กฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทําความผิดมิได้
                              ในคดีอาญา  ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจําเลยไม่มีความผิด  และก่อนมีคําพิพากษา

                      อันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทําความผิด  จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทําความผิดมิได้
                              การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจําเลยให้กระทําได้เพียงเท่าที่จําเป็น  เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี
                              ในคดีอาญา  จะบังคับให้บุคคลให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองมิได้

                              คําขอประกันผู้ต้องหาหรือจําเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาและจะเรียกหลักประกัน
                      จนเกินควรแก่กรณีมิได้  การไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

                              มาตรา  ๓๐  การเกณฑ์แรงงานจะกระทํามิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติ
                      แห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ  หรือในขณะที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
                      หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก  หรือในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ

                              มาตรา  ๓๑  บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติ
                      หรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน  แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย

                      ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ  และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
                              มาตรา  ๓๒  บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว  เกียรติยศ  ชื่อเสียง  และครอบครัว
                              การกระทําอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง  หรือการนําข้อมูล

                      ส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ  จะกระทํามิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
                      ที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ

                              มาตรา  ๓๓  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน
                              การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง  หรือการค้นเคหสถาน
                      หรือที่รโหฐานจะกระทํามิได้  เว้นแต่มีคําสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

                              มาตรา  ๓๔  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  การพูด  การเขียน  การพิมพ์
                      การโฆษณา  และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น  การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจ

                      ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ  เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของ
                      บุคคลอื่น  เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของ
                      ประชาชน

                              เสรีภาพทางวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง  แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของ
                      ปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น

                              มาตรา  ๓๕  บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร
                      หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ




                                                                                                              9




                         .indd   9                                                                                27/8/2562   12:26:46
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23