Page 22 - สมเด็จพระราชินีนาถกับงานสิทธิมนุษยชน
P. 22

พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมราชองครักษ์ ประสานงานกับกองทัพภาคที่ ๔
               และกรมทหารราบที่ ๓ กองพลนาวิกโยธิน จัดทำาโครงการราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน (อรบ.) ขึ้น
               โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมสมาชิกราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน ให้เป็นพลังกำาลังประชาชนในพื้นที่

               ป้องกันตนเอง และเป็นหมู่บ้านสนับสนุนการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ซึ่งมีจัดการฝึกอบรมให้ความรู้
               ฝึกทบทวนการใช้อาวุธ และวิธีการในการป้องกันตนเองและหมู่บ้าน เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิต
               และทรัพย์สิน เพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถในการดูแลความปลอดภัยให้แก่หมู่บ้านชุมชน

               เพื่อไม่ละทิ้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย และพื้นที่ทำามาหากิน  นอกจากนั้นยังเพิ่มพูนความรู้พัฒนาส่งเสริมอาชีพ
               ด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ให้แก่ราษฎรในพื้นที่ เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ยกระดับคุณภาพ

               ชีวิตของราษฎร ผ่านโครงการฟาร์มตัวอย่าง และหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

                        โครงการนี้ได้มีการฝึกราษฎรในจังหวัดนราธิวาสขั้นต้น  จำานวน  ๑๐๐  คน  ให้มีขีด

               ความสามารถในการใช้อาวุธประจำากาย อาวุธปืนลูกซองในการป้องกันตนเอง ป้องกันชีวิตทรัพย์สิน
               และป้องกันภัยประจำาหมู่บ้าน มีการขยายผลการฝึกโดยให้ราษฎรแต่ละคนไปคัดเลือกเพื่อนสนิท
               ที่มีความเชื่อถือและไว้วางใจได้ในแต่ละหมู่บ้านอีกรายละ ๕ คน รวมเป็น ๕๐๐ คน เมื่อรวมกับ

               จำานวนที่ฝึกเริ่มแรกจะเป็น ๖๐๐ คน ทำาการฝึกอาวุธ และจัดหาอาวุธจากทางราชการให้ยืมสำาหรับ
               ใช้ป้องกันหมู่บ้าน

                        ต่อมาได้มีการขยายผลการฝึกในลักษณะเดียวกันนี้ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา

               โดยในระยะแรกนั้นได้กำาหนดเป้าหมายในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จังหวัดละ ๖๐๐ คน และขยายผล
               ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ให้ได้จังหวัดละ ๗ กองพัน (๒,๕๒๐ คน) รวม ๓ จังหวัด ๒๑ กองพัน (๗,๕๖๐ คน)

               ซึ่งมีการฝึกจัดตั้ง และตรวจสอบในด้านการรักษาความปลอดภัยบุคคลอย่างเข้มงวด มีการจัด
               แบ่งสายการบังคับบัญชา โดยมีหน่วยทหารเป็นพี่เลี้ยง นอกจากนี้ยังจัดให้มีการฝึกอบรมงาน
               ด้านการข่าว การหาข่าว เพื่อช่วยเหลือทางราชการในการหาแหล่งที่ซุกซ่อนอาวุธ แหล่งซ่องสุมกำาลัง

               และหาข่าวเกี่ยวกับบุคคลแปลกหน้าที่แทรกซึมเข้ามาในหมู่บ้านแล้วรายงานให้หน่วยทหารที่เป็น
               พี่เลี้ยงทราบ เพื่อดำาเนินการตรวจค้น จับกุม และดำาเนินการตามกฎหมายต่อไป

                        โครงการดังกล่าวเริ่มดำาเนินการ เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๗ โดยแต่งตั้งคณะทำางาน

               คัดเลือกราษฎรเข้ารับการอบรมและมีการติดตามประเมินผล ปรากฏว่า ได้มีการจัดตั้งกองพันราษฎร
               อาสารักษาหมู่บ้าน (อรบ.) และกองพันราษฎรอาสารักษาเมือง (อรม.) ในพื้นที่จังหวัดยะลา

               มีจำานวน ๖,๖๙๔ คน ๑๗ กองพัน
















              22     ส ม เ ด็ จ พ ร ะ บ ร ม ร า ชิ นี น า ถ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27