Page 8 - งานเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนวันสตรีสากล 2561
P. 8
ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
(Women Human Rights Defenders - WHRDs)
ควำมเป็นมำ
ในปี 2556 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติให้การรับรองข้อมติ 68/181
ซึ่ง เป็นข้อมติแรกของทางสมัชชาที่เกี่ยวกับผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ข้อมติ
ดังกล่าวแสดงออกถึงความกังวลเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติและการใช้ความรุนแรง
เชิงระบบและเชิงโครงสร้างที่ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทุกวัยต้องเผชิญ
นอกจากนี้ ข้อมติ 68/181 ยังเรียกร้องให้รัฐสมาชิกใช้มาตรการที่จ�าเป็นในการ
รับรองความปลอดภัย และเพิ่มมุมมองเรื่องเพศภาวะใส่ในความพยายามที่จะสร้าง
สิ่งแวดล้อมอันเอื้ออ�านวยต่อการปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ซึ่งประเทศไทย
เป็นภาคีให้หลักประกันสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพ
ในการสมาคม และการห้ามมิให้จับกุมหรือคุมขังโดยพลการ
ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (UN Declaration
on Human Rights Defenders) ยืนยันสิทธิของคนทุกคนที่จะคัดค้านการละเมิด
สิทธิมนุษยชนด้วยหนทางสันติ ปฏิญญาฯ ห้ามมิให้กระท�าการโต้กลับ ข่มขู่และ
คุกคามด้วยรูปแบบอื่นๆ (Reprisal) ต่อบุคคลใดก็ตามที่กระท�าการโดยสันติเพื่อ
ต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะในระหว่างหรือนอกเหนือจากการปฏิบัติ
หน้าที่ตามวิชาชีพของพวกเขา
ผู้รายงานพิเศษด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน องค์การสหประชาชาติ ได้
นิยามค�าว่า “ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” ให้หมายถึง ทั้งผู้หญิงที่ท�ำหน้ำที่
ปกป้องสิทธิมนุษยชน และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่ปกป้องสิทธิผู้หญิง
และปัญหำต่ำงๆ ที่เกี่ยวกับเพศสภำพ (A/HRC/16/44) ปฏิญญำว่ำด้วยนักปกป้อง
สิทธิมนุษยชน จึงตระหนักถึงบทบำทส�ำคัญของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึง
ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
7