Page 8 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 8

ค�าน�า







                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
            พุทธศักราช ๒๕๔๐ โดยมีสถานะเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ท�าหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
            ในประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามหลักการปารีส (Paris Principles) ใน ๕ ส่วนส�าคัญ คือ (๑) การคุ้มครอง

            สิทธิมนุษยชน (protection function) และการท�างานกึ่งตุลาการ (quasi-judicial function) (๒) การให้
            ค�าปรึกษาด้านสิทธิมนุษยชน (advisory function) (๓) การเฝ้าระวังสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (monitoring
            function) (๔) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (promotional function) และ (๕) การท�างานร่วมกับผู้มีส่วนได้
            ส่วนเสีย และองค์กรอื่น ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ (relationship with stakeholders and other bodies)



                  ทั้งนี้  หลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๖๐  ประกาศใช้บังคับเมื่อ
            วันที่  ๖  เมษายน  ๒๕๖๐  กสม.  มีสถานะเป็นองค์กรอิสระ  โดยมีหน้าที่และอ�านาจตามที่บัญญัติไว้ในหมวด
            ๑๒  ส่วนที่  ๖  มาตรา  ๒๔๗  พร้อมกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการ

            สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ โดยหนึ่งในภารกิจส�าคัญ
            ของ  กสม.  คือ  การจัดท�ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยแบบสรุป
            ซึ่งประกอบด้วย ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยควรด�าเนินการ
            ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน เพื่อน�าเสนอต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี และเผยแพร่ต่อประชาชน
            พร้อมกับก�าหนดให้ กสม. จัดให้มีแผนการด�าเนินการจัดท�ารายงานดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไป

            โดยไม่ชักช้า และแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ก�าหนดไว้ ในขณะที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังก�าหนดให้คณะรัฐมนตรี
            ต้องด�าเนินการปรับปรุงแก้ไขตามความเหมาะสมโดยเร็วภายหลังจากที่ได้รับทราบรายงานดังกล่าว  และ
            ในกรณีใดที่มิอาจด�าเนินการได้หรือต้องใช้เวลาในการด�าเนินการให้แจ้งเหตุผลให้ กสม. ทราบโดยไม่ชักช้า



                  ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และอ�านาจตามบทบัญญัติดังกล่าว  คณะท�างานพัฒนาระบบการติดตาม
            และประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนได้ประมวลสถานการณ์จากที่ปรากฏในสื่อมวลชน  ข้อมูล
            การด�าเนินงานที่ได้รับจากหน่วยราชการต่าง ๆ การจัดเวทีเพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
            ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ต่าง ๆ ตลอดจนงานศึกษาวิจัยที่ กสม. ร่วมด�าเนินการกับภาคส่วนต่าง ๆ พร้อมกับ

            พิจารณาเรื่องร้องเรียนและการด�าเนินงานของคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ ภายใต้ กสม. โดยน�าข้อมูลข้างต้น
            มาวิเคราะห์ความสอดคล้องกับสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีจ�านวน ๗ ฉบับและ
            สิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้รับรองไว้ ตลอดจนพันธกรณีระหว่าง

            ประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ทั้งนี้ ในการพิจารณาข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหานั้น ได้น�าบทบัญญัติของ
            รัฐธรรมนูญในหมวดต่าง ๆ มาพิจารณาประกอบ อาทิ หมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ และหมวดหน้าที่ของรัฐ
            ตลอดจนรายงาน  แนวทาง  หรือความเห็นในการปฏิรูปประเทศของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและ
            คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ โดยรายงานฉบับนี้น�าเสนอทั้งความก้าวหน้าและถดถอยของสถานการณ์
            พร้อมกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง จ�าแนกเป็น ๕ ส่วน ๑๘ ประเด็น คือ (๑) สิทธิและ










                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 7
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13