Page 7 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 7
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 7
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
บทสรุปสำาหรับผู้บริหาร
ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นสำาคัญทั้งในระดับระหว่าง
ประเทศและภายในประเทศ การดำาเนินธุรกิจนั้นมีทั้งส่วนที่สร้างสรรค์และ
สร้างผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบและสังคมโดยรวม เพื่อรับมือต่อการคุ้มครอง
การละเมิดสิทธิมนุษยชนขององค์กรภาคเอกชนในระดับระหว่างประเทศ
สหประชาชาติจึงได้ให้ความเห็นชอบกับหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและ
สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles
on Business and Human Rights - UNGP) เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554
โดยสาระสำาคัญของหลักปฏิบัตินี้ เพื่อเป็นแนวทางให้กับรัฐและองค์กรภาคเอกชน
ที่มีหน้าที่บนฐานของความสมัครใจ (voluntary soft-law approach) ตามกรอบ
ดังนี้ (1) รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (2) องค์กรภาคเอกชนมีหน้าที่
เคารพสิทธิมนุษยชน และ (3) ภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มธุรกิจ ควรจัดให้มี
ช่องทางการเยียวยาเหยื่อที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากองค์กรภาคเอกชน
ปัจจุบัน แนวทางการทำางานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ (กสม.) คือ การเข้าไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการปฏิบัติที่
ไม่เป็นธรรม ที่เป็นผลกระทบจากการใช้อำานาจของ “รัฐ” เป็นสำาคัญ แต่ไม่อาจ
ปฏิเสธได้ว่า ปัจจุบันปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมนั้น
ไม่ได้เกิดเฉพาะแต่กรณีการใช้อำานาจรัฐเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นภายในองค์กร
ของรัฐและโดยภาคธุรกิจอีกด้วย
จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของ สำานักงาน กสม. เกี่ยวกับการดำาเนินงาน
เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนกรณีการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
กับภาคธุรกิจ พบว่า 1) บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลกับ
กสม.เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม หลายครั้งบริษัทไม่ได้ให้ข้อมูลที่จำาเป็นทั้งหมด
โดยเฉพาะการมาชี้แจงด้วยวาจาอาจทำาให้ไม่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ตรงประเด็น