Page 2 - โครงการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เรื่อง "การศึกษาและตาบอดสี"
P. 2
โครงการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เรื่อง “การศึกษาและตาบอดสี”
โดย คณะอนุกรรมการด้านสิทธิเด็กและการศึกษา
********************************
อาการตาบอดสี ที่จริงแล้วเป็นอาการบกพร่องความสามารถในการมองเห็นสี
หรือที่เรียกให้ถูกต้องคือ อาการตาพร่องสี ผู้ที่มีอาการตาพร่องสีจะมองเห็นสีไม่เหมือนคนปกติ
อุบัติการณ์ พบในผู้ชาย 7.5 – 8.0 % พบในผู้หญิง 0.5 %
ส่วนใหญ่เป็นตาพร่องสีแดงและสีเขียว ( Red-Green Deficiency )
ส่วนน้อยเป็นตาพร่องสีน ้าเงิน ( Blue Deficiency )
ตาพร่องสีทุกสี ( Total Color Blindness ) พบน้อยมากคือ พบ 1 : 33,000
ผู้ที่มีอาการตาพร่องสีสามารถมองเห็นและด ารงชีวิตได้เหมือนคนปกติ แต่ไม่สามารถ
ศึกษาต่อและประกอบอาชีพที่ต้องใช้ความสามารถในการมองเห็นสี เช่น นักบิน ทหาร ต ารวจ
แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ วิศวกร สถาปนิก ช่างไฟฟ้า ช่างอิเลคโทรนิค
และคนขับรถขนส่งสาธารณะ เป็นต้น
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนปัญหาสิทธิมนุษยชนเรื่อง
“การศึกษาและตาบอดสี”เป็นจ านวนมาก เนื่องจากเด็กนักเรียนที่สมัครสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบัน
การศึกษาหลายแห่งสามารถผ่านการสอบข้อเขียน แต่ตรวจร่างกายไม่ผ่านเกณฑ์ความสามารถใน
การมองเห็นสี ท าให้เกิดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ,สังคม,โอกาส,เวลา และ กระทบกระเทือน
ต่อจิตใจของเด็กนักเรียนอย่างรุนแรง เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีการตรวจคัดกรองหาอาการตาพร่องสี
ในเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมทางการศึกษาให้เด็กนักเรียนตั้งแต่แรก
นางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิเด็กและการศึกษา ใน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เล็งเห็นความส าคัญในการตรวจคัดกรองเด็กนักเรียนที่มี
อาการตาพร่องสี ได้จัดให้มีการสัมมนาเวทีสาธารณะ โครงการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
เรื่อง“การศึกษาและตาบอดสี” ในวันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
คณะอนุกรรมการด้านสิทธิเด็กและการศึกษาจึงเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการเป็น
ผู้ด าเนินการตรวจคัดกรองหาเด็กนักเรียนที่มีอาการตาพร่องสีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา โดยให้ครูเป็น
ผู้ตรวจคัดกรองเด็กนักเรียนในโรงเรียน และใช้วิธีทดสอบแบบ ISHIHARA’s Test ชนิด 38 แผ่น
ที่ตีพิมพ์เมื่อปีค.ศ.2010 ให้เด็กนักเรียนอ่านแบบทดสอบ21แผ่นแรก ถ้าเด็กนักเรียนสามารถอ่าน
ได้ถูกต้อง17แผ่นหรือมากกว่า แสดงว่าไม่มีตาพร่องสี ส่วนเด็กนักเรียนที่อ่านได้น้อยกว่า 17 แผ่น
จะส่งไปที่โรงพยาบาลประจ าจังหวัด เพื่อให้จักษุแพทย์ตรวจวินิจฉัยต่อไป เด็กนักเรียนที่มีอาการ
ตาพร่องสีจะได้รับการแนะน าแนวทางในการศึกษาต่อที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ และถือเป็นความลับ
ไม่ให้คนอื่นรู้ ให้รู้เฉพาะผู้ปกครองและเด็กนักเรียนเท่านั้น
ส่วนปัญหาที่สองที่จะด าเนินการต่อคือ สถาบันการศึกษาทุกแห่งที่รับเด็กนักเรียน
ในสาขาวิชาเดียวกัน ต้องออกเกณฑ์ในการรับนักเรียนที่มีอาการตาพร่องสีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
มีการตรวจหาอาการตาพร่องสีที่ใชีวิธีตรวจเหมือนกัน ไม่ใช้ดุลพินิจ และมีการประกาศอย่างชัดเจน
และเปิดเผย เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อเด็กนักเรียน