Page 96 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 96

ย ้าว่า การขจัดการแบ่งแยกผิว การแบ่งเชื้อชาติทุกรูปแบบ การเลือกปฏิบัติตามเชื้อชาติ ลัทธิอาณานิคม
                   ลัทธิอาณานิคมสมัยใหม่ การรุกราน การยึดครองครอบครอง และการแทรกแซงของต่างชาติในกิจการภายในของ

                   รัฐต่าง ๆ มีความส าคัญต่อการได้อุปโภคสิทธิอย่างเต็มที่ของบุรุษและสตรี


                          ยืนยันว่า การท าให้สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศแข็งแกร่งขึ้น การผ่อนคลายความตึงเครียด
                   ระหว่างประเทศ ความร่วมมือซึ่งกันและกันในบรรดารัฐทั้งปวงโดยไม่ถือระบบสังคมและเศรษฐกิจของตน การ
                   ลดอาวุโสโดยทั่ว ๆ ไปและอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดอาวุธนิวเคลียร์ภายใต้การควบคุมระหว่าง

                   ประเทศอย่างเข้มแข็งและได้ผล การยืนยันถึงหลักการแห่งความยุติธรรม ความเสมอภาคและผลประโยชน์ของกัน
                   และกันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ และการตระหนักถึงสิทธิของประชาชนที่อยู่ภายใต้การ
                   ครอบครองของต่างชาติและอยู่ภายใต้อาณานิคม และการยึดครองของต่างชาติต่อการที่จะปกครองตนเองและการ

                   ได้อิสรภาพ รวมทั้งการเคารพอธิปไตยแห่งชาติและบูรณภาพแห่งดินแดน จะช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าและ
                   พัฒนาการทางสังคม และในฐานะเป็นผลสืบเนื่องจะช่วยให้บรรลุถึงความเสมอภาคอย่างเต็มเปี่ยมระหว่างบุรุษ
                   และสตรี


                          มีความเชื่อมั่นว่า พัฒนาการอย่างเต็มที่และสมบูรณ์ของประเทศ สวัสดิภาพของโลกและเหตุที่จะมี

                   สันติภาพ จ าต้องให้สตรีได้เข้าร่วมอย่างเต็มที่ในทุก ๆ สาขาโดยเสมอภาคกับบุรุษ


                          ค านึงถึง การที่สตรีมีส่วนช่วยอย่างส าคัญต่อสวัสดิการของครอบครัวและต่อพัฒนาการของสังคม ซึ่ง
                   จนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่ ความส าคัญทางสังคมของความเป็นเพศมารดาและบทบาท
                   ของบิดามารดาในครอบครัวและในการเลี้ยงดูบุตร และตระหนักว่าบทบาทของสตรีในการให้ก าเนิดบุตรไม่ควร

                   จะเป็นพื้นฐานในการเลือกปฏิบัติ แต่ตระหนักว่า การเลี้ยงดูบุตรจ าต้องได้รับผิดชอบร่วมกันระหว่างบุรุษและ
                   สตรี และสังคมทั้งมวล


                          ตระหนักว่า จ าเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทดั้งเดิมของบุรุษ รวมทั้งบทบาทของสตรีในสังคมและใน
                   ครอบครัวเพื่อให้บรรลุถึงความเสมอภาคอย่างเต็มที่ระหว่างบุรุษและสตรี


                          ตั้งใจแน่วแน่ ที่จะให้มีการปฏิบัติตามหลักการที่ระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อ
                   สตรี และเพื่อความมุ่งประสงค์นั้นจะก าหนดมาตรการต่าง ๆ ที่จ าเป็นส าหรับการขจัดการเลือกปฏิบัติดังกล่าวใน

                   ทุกรูปแบบและวิธีการ ได้ตกลงกันดังต่อไปนี้





                                                          ภาค 1


                                                           ข้อ 1

                          เพื่อความมุ่งประสงค์ของอนุสัญญานี้ ค าว่า  “เลือกปฏิบัติต่อสตรี ” จะหมายถึง การแบ่งแยก การกีดกัน

                   หรือการจ ากัดใด ๆ เพราะเหตุแห่งเพศ ซึ่งมีผลหรือความมุ่งประสงค์ที่จะท าลายหรือท าให้เสื่อมเสียการยอมรับ
                   การได้อุปโภค หรือใช้สิทธิโดยสตรี โดยไม่ค านึงถึงสถานภาพด้านการสมรส บนพื้นฐานของความเสมอภาคของ
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101