Page 252 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 252
6
4. มาตรการเฉพาะซึ่งจ าเป็นในการเร่งหรือเพื่อให้บรรลุถึงความเท่าเทียมกันในทางปฏิบัติแก่คน
พิการต้องไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขของอนุสัญญานี้
ข้อ 6
สตรีพิการ
1. รัฐภาคียอมรับว่าสตรีและเด็กพิการนั้นตกอยู่ภายใต้การเลือกปฏิบัติอย่างทวีคูณและในการนี้
รัฐภาคีต้องด าเนินมาตรการเพื่อประกันว่าสตรีและเด็กหญิงพิการจะได้อุปโภคสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐานทั้งปวงอย่างเต็มที่และโดยเท่าเทียมกัน
2. ให้รัฐภาคีด าเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวงเพื่อประกันให้เกิดการพัฒนาความก้าวหน้าและ
การเสริมสร้างพลังอ านาจแก่สตรีอย่างเต็มที่เพื่อเป็นหลักประกันว่าบุคคลเหล่านี้จะสามารถใช้และอุปโภค
สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามที่ระบุไว้ในอนุสัญญานี้
ข้อ 7
เด็กพิการ
1. ให้รัฐภาคีด าเนินมาตรการที่จ าเป็นทั้งปวงเพื่อประกันว่า เด็กพิการได้อุปโภคสิทธิมนุษยชน
และเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างเต็มที่บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับเด็กอื่น
2. ในการด าเนินการทั้งปวงที่เกี่ยวกับเด็กพิการ ประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสิ่งที่ต้องค านึงถึงเป็น
ล าดับแรก
3. ให้รัฐภาคีประกันว่าเด็กพิการมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยเสรีในทุกเรื่องที่มีผลกระทบ
ต่อตน ทั้งนี้ความคิดเห็นดังกล่าวของเด็กจะได้รับการพิจารณาตามสมควรแก่อายุและวุฒิภาวะของเด็กนั้น
บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับเด็กอื่น และได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับวัยและความพิการ เพื่อให้สิทธิ
ดังกล่าวบังเกิดผล
ข้อที่ 8
การสร้างความตระหนัก
1. ให้รัฐภาคีด าเนินมาตรการที่มีประสิทธิผล เหมาะสม และมีผลทันทีเพื่อ
(เอ) สร้างความตระหนักเกี่ยวกับคนพิการให้มีขึ้นในสังคม รวมทั้งในระดับครอบครัว และ
เสริมสร้างการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีของคนพิการ
(บี) ต่อสู้กับเจตคติแบบเก่า อคติ และการปฏิบัติที่เป็นภัยต่อคนพิการซึ่งรวมถึงเจตคติ อคติ
และการปฏิบัติบนพื้นฐานของเพศและวัยในทุกด้านของการด าเนินชีวิต
(ซี) ส่งเสริมการตระหนักถึงความสามารถและการมีส่วนสนับสนุนของคนพิการต่อสังคม
2. มาตรการเพื่อการนี้รวมถึง
(เอ) ริเริ่มและคงไว้ซึ่งการรณรงค์สร้างความตระหนักแก่สาธารณะที่มีประสิทธิผลเพื่อ
(1) ปลูกฝังการยอมรับในสิทธิของคนพิการ
(2) ส่งเสริมทัศนคติเชิงบวกและเพิ่มความตระหนักทางสังคมต่อคนพิการ