Page 23 - สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล กรณีเห็นว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไว้ผมและการแต่งกายของข้าราชการ ลูกจ้าง และผู้ที่ทำงานในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2516 ลิดรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
P. 23

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
                 แห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐  มาตรา ๒๕๖  และมาตรา ๒๕๗  และพระราชบัญญัติคณะกรรมการ
                 สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒  ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน  ซึ่ง
                 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำาแนะนำาของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
                 ของประชาชนเป็นที่ประจักษ์  มีวาระการดำารงตำาแหน่งหกปี และดำารงตำาแหน่งได้เพียงวาระเดียว โดยมีอำานาจหน้าที่ ดังนี้
                        ๑.  ตรวจสอบและรายงานการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือ
                             อันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี  และเสนอ
                             มาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำาหรือละเลยการกระทำาดังกล่าว เพื่อ
                             ดำาเนินการในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำาเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำาเนินการต่อไป
                        ๒.  เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ  ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติ
                             แห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  ทั้งนี้ ตาม
                             พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
                        ๓.  เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง  ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำาสั่ง หรือ
                             การกระทำาอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
                             หรือกฎหมาย  ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
                        ๔.  ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควร
                             เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม  ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
                        ๕.  เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ ต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อ
                             ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                        ๖.  ส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
                        ๗.  ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
                        ๘.  ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้าน
                             สิทธิมนุษยชน
                        ๙.  จัดทำารายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ และเสนอต่อรัฐสภา
                        ๑๐.  ประเมินผลและจัดทำารายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปีเสนอต่อรัฐสภา
                        ๑๑.  เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ในกรณีที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาเกี่ยวกับ
                             การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                        ๑๒.  อำานาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ










            22

            สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล กรณีเห็นว่าระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การไว้ผมและการแต่งกายของข้าราชการ ลูกจ้าง
            และผู้ที่ทำางานในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๖ ลิดรอนสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28