Page 318 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 318
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 317
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๖ และมาตรา ๒๕๗ และพระราชบัญญัติคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกหกคน
ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำาแนะนำาของวุฒิสภา มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนเป็นที่ประจักษ์ มีวาระการดำารงตำาแหน่งหกปี และดำารงตำาแหน่งได้เพียงวาระเดียว โดยมีอำานาจหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ดังนี้
๑. ส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
๒. ตรวจสอบและรายงานการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคล หรือหน่วยงานที่กระทำา หรือละเลยการกระทำาดังกล่าว
เพื่อดำาเนินการในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำาเนินการตามที่เสนอให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำาเนินการต่อไป
๓. เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี
เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๔. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
๕. ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่น
ในด้านสิทธิมนุษยชน
๖. จัดทำารายงานประจำาปี เพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภา
และคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยต่อสาธารณชน
๗. ประเมินผลและจัดทำารายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปีเสนอต่อรัฐสภา
๘. เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาในกรณีที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาเกี่ยวกับ
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๙. แต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
๑๐. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นซึ่งกำาหนดให้เป็นอำานาจหน้าที่
ของคณะกรรมการ