Page 6 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 6
โดยที่ เสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจา
ต่อรองถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้รับการรับรองโดยปฏิญญา
สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human
Rights) ข้อ ๒๓ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political
Rights) ข้อ ๒๒ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social
and Cultural Rights) ข้อ ๘ และได้รับการรับรองไว้ในอนุสัญญา
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organiza-
tion : ILO) ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครอง
สิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและ
การร่วมเจรจาต่อรอง อันเป็น ๒ ใน ๘ อนุสัญญาหลักของ ILO และ
ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี โดยผู้แทนรัฐบาลไทยได้ให้คำามั่น
โดยสมัครใจภายใต้กลไกการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายใน
ประเทศของสหประชาชาติ (Universal Periodic Review : UPR)
รอบที่หนึ่ง (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๑–๒๕๕๔) ว่าจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO
ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ และมีการแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
4 4 การเ
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
และฉบับที่