Page 7 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 7
II
การปองกันโรค การชวยเหลือและการรักษาขอมูลขาวสารและการปกปองคุมครองตามกฎหมาย โดยความ
เคารพตอความเปนสวนตัวและความลับสวนบุคคล ตลอดจนเพื่อขจัดความรูสึกอับอาย และการแยกตัวออก
จากสังคมของผูติดเชื้อเอชไอวี”
ดวยเหตุดังกลาวสํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ จึงเห็นชอบให สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เปนที่ปรึกษาโครงการศึกษาวิจัย เรื่อง “การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู
ติดเชื้อเอชไอวี” เพื่อใหมีการศึกษาวิจัยสาเหตุและสภาพปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพใหไดรับ
การปกปองคุมครองสิทธิตามกฎหมายและตามหลักการสิทธิมนุษยชนอยางเปนรูปธรรม รวมทั้งจัดทํา
ขอเสนอแนะเชิงนโยบายและหรือขอเสนอในการปรับปรุงกฎหมายตอหนวยงานที่รับผิดชอบตอไป
วัตถุประสงค
(1) เพื่อศึกษาสภาพปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี
(2) เพื่อศึกษาวิเคราะห ระเบียบ ประกาศ นโยบายของรัฐ มาตรการทางกฎหมาย แนวทางการ
ปฏิบัติและการดําเนินของหนวยงานที่เกี่ยวของกับการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของ
ผูติดเชื้อเอชไอวี
(3) เพื่อเสนอรูปแบบการคุมครองสิทธิมนุษยชนของผูติดเชื้อเอชไอวีในการประกอบอาชีพ และ
เสนอแนะแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของ
ผูติดเชื้อเอชไอวีที่ประสบปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพ และสรุปเปนขอเสนอแนะ
เชิงนโยบายและหรือขอเสนอในการปรับปรุงกฎหมายตอหนวยงานที่มีหนาที่รับผิดชอบ
กรอบแนวคิดที่ใชในการวิจัย
การตีตราและการเลือกปฏิบัติ (Stigma and Discrimination)
แนวคิดเรื่องการตีตรา และการเลือกปฏิบัติมีความเชื่อมโยงตอกัน โดยเฉพาะการตีตราผูติดเชื้อ
เอชไอวี เมื่อพวกเขาถูกตีตราจากสังคมหนึ่งๆ ก็ทําใหถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกกีดกันจากสังคม และอาจถูกละเมิด
สิทธิมนุษยชนดวย โดยในหลายประเทศ มีการรายงานถึงกรณีที่ผูติดเชื้อถูกปฏิเสธสิทธิในการรักษาพยาบาล
1
การทํางาน การศึกษารวมถึงเสรีภาพในการเคลื่อนไหวดวย
การตีตราหมายถึง “ภาวะที่บุคคลหรือกลุมชนในสังคมหนึ่งกําหนดวาอะไรคือความแตกตางของ
บุคคลลักษณะของบุคคลที่พึงประสงคหรือไมพึงประสงคควรเปนอยางไรลักษณะใดที่มีความแตกตางไปจากที่
คนสวนใหญประสงคจะถือวามีความเบี่ยงเบนสงผลใหบุคคลสูญเสียชื่อเสียงไมนาไววางใจหรือเกิดความอับอาย
ตลอดจนทําใหบุคคลนั้นรูสึกวาคุณคาตัวตนลดลงในสายตาของสังคมบุคคลที่ไดรับตราบาปหรือถูกตีตราบาป
จะเกิดความรูสึกวา “ตนมีความแตกตางจากผูอื่นอยางที่ไมพึงประสงค” (Undesirable difference) ทั้งนี้
คุณลักษณะที่จะถูกตีตราบาปดังกลาวขึ้นอยูกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่คนจํานวนมากในสังคมนั้นๆมี
อํานาจเปนผูกําหนดขึ้นซึ่งความหมายของตราบาปเนนไปที่มุมมองของสังคมที่อางอิงจากบรรทัดฐานทางสังคม
หลอหลอมรวมกันเปนความรูสึกที่แยกแยะ “ความตาง” (difference) หรือ “ความเบี่ยงเบน” (deviance)
1
UNAIDS.HIV/AIDS-related Stigma, Discrimination and Human Right Violation: Cases Studies of Successful
Programme, 2005 [online] available at http://data.unaids.org/publications/irc-pub06/jc999-
humrightsviol_en.pdf