Page 129 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 129
113
บทที่ 5
ชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนส าหรับการด าเนินงาน
บทนี้จะเป็นการเสนอชุดตัวชี้วัดที่คณะผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้นหลังจากได้มีการสรุปพันธกรณีของรัฐ และ
ได้ก าหนดสาระแห่งสิทธิ หรือมิติของสิทธิด้านต่างๆ รวมถึงหน้าที่ของรัฐด้านต่างๆ ในการปฏิบัติตามพันธกรณี
ระหว่างประเทศตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยใช้รูปแบบและกระบวนการที่ได้รับการยอมรับ
ขององค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และได้ใช้วิธีการการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้
ตัวชี้วัดที่สะท้อนปัญหาสิทธิมนุษยชนส าคัญของประเทศไทย และให้ได้ตัวชี้วัดที่ยอมรับได้และใช้ได้จริงในทาง
ปฏิบัติ
คณะผู้ศึกษาได้จ าแนกประเภทตัวชี้วัดเป็นห้ากลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการก าหนดตนเองและการมีส่วนร่วมการจัดการสาธารณะ
2. ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิทธิในชีวิตและความปลอดภัยในร่างกาย
3. ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิทธิในด้านกระบวนการยุติธรรม
4. ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิทธิเกี่ยวกับมโนธรรม ความคิดเห็น การสมาคม และการชุมนุม
5. ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับสิทธิด้านสวัสดิการสังคม
ในตารางชุดตัวชี้วัดนั้น จะประกอบด้วยตัวชี้วัดสิทธิด้านต่างๆ ตัวชี้วัดแต่ละตัวจะประกอบด้วยตัวชี้วัด
สามประเภท คือ ตัวชี้วัดโครงสร้าง ตัวชี้วัดกระบวนการ และตัวชี้วัดผลลัพธ์ ซึ่งสิทธิด้านหนึ่งอาจมีตัวชี้วัด
หลายตัว ซึ่งแบ่งเป็นตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดรอง ในขณะที่สิทธิบางด้านอาจไม่มีตัวชี้วัดบางประเภท