Page 13 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 13
ACCUSATORIAL /
ADVERSARY SYSTEM ระบบกล่าวหา
คำานี้ ในระบบกฎหมายอังกฤษใช้ “Accusatorial” ส่วนระบบกฎหมาย
อเมริกาใช้ “Adversary”
ระบบกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำาเนินคดีอาญาในศาล
โดยเฉพาะเกี่ยวกับหลักการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งใช้อยู่ในประเทศที่เป็น
ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) การพิจารณาคดีระบบนี้
อยู่บนแนวคิดที่ว่าคดีอาญาเป็นการเยียวยาทางศาลให้แก่ผู้เสียหาย (ไม่ว่า
จะเป็นบุคคล หรือรัฐ) ผู้เสียหายจึงฟ้องให้ศาลลงโทษจำาเลย ดังนั้นโจทก์
จึงต้องรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าจำาเลยกระทำาผิด
โดยในการวินิจฉัยคดีศาลเป็นเพียงคนกลางรับฟังการนำาพยานหลักฐานเข้าสืบ
ระบบกล่าวหามีหลักการสำาคัญคือผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีอาญาได้
โดยไม่ต้องอาศัยพนักงานอัยการ ศาลจะไม่มีบทบาทในการแสวงหา สืบเสาะ
หลักฐานเพื่อค้นหาความจริง กระบวนการพิจารณาจะยึดถือความเท่าเทียมกัน
ของคู่ความ ดังนั้นจึงกำาหนดระเบียบในการนำาพยานเข้าสืบและเกณฑ์สำาหรับ
ศาลในการรับฟังพยานที่เคร่งครัดเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ
ในคดี เช่น มีข้อกฎหมายเกี่ยวกับการตัดพยาน เป็นต้น
ระบบวิธีพิจารณาความคดีอาญาที่ตรงกันข้ามกับระบบนี้ คือ ระบบ
ไต่สวน (ดู ระบบไต่สวน INQUISITORIAL SYSTEM)
แม้ว่าระบบกฎหมายของประเทศไทยจะเป็นระบบประมวลกฎหมาย
หรือ ซีวิลลอว์ (Civil Law) แต่ในกระบวนวิธีพิจารณาความอาญาใช้ระบบ
กล่าวหา เนื่องจากอิทธิพลของการศึกษากฎหมายจากประเทศอังกฤษ
ในยุคปฏิรูปกฎหมายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทั้งที่บทบัญญัติของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะอนุญาตให้ใช้วิธีไต่สวน
โดยผู้พิพากษาก็ตาม
คำาที่เกี่ยวข้อง INQUISATORIAL SYSTEM, CIVIL LAW, COMMON
LAW, MIRANDA RULES
2