Page 27 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 27
สำ�นักง�นคณะกรรมก�รสิทธิมนุษยชนแห่งช�ติ
๑.๒ หลักการของสิทธิมนุษยชนสากล (The Human
Rights Principles) ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
มีหลักการที่สำาคัญดังนี้
๑.๒.๑ เป็นสิทธิตามธรรมชาติที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด
มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีประจำาตัว ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นี้ไม่มีใครมอบให้
- ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือ คุณค่าของคนในฐานะที่
เขาเป็นมนุษย์
- คุณค่าของมนุษย์ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ในฐานะ
การดำารงตำาแหน่งทางสังคม (แตกต่างกัน) กับในฐานะความเป็นมนุษย์
(เท่าเทียมกัน)
- การกำาหนดคุณค่าที่แตกต่างกันนำามาซึ่งการลดทอน
คุณค่าของความเป็นมนุษย์
๑.๒.๒ เป็นสากลและไม่สามารถถ่ายโอนกันได้
๑.๒.๓ ไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆ ว่าสิทธิใดมีความสำาคัญกว่า
อีกสิทธิหนึ่ง
๑.๒.๔ ความเสมอภาคและห้ามการเลือกปฏิบัติ ในฐานะ
ที่เราเกิดมาเป็นคนจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
๑.๒.๕ การมีส่วนร่วมและการเป็นส่วนหนึ่งของสิทธินั้น คือ
ประชาชนทุกคนย่อมสามารถมีส่วนร่วมในการเข้าถึงและได้รับประโยชน์จาก
สิทธิต่างๆ ได้
๑.๒.๖ ตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรม กล่าวคือ รัฐหรือ
องค์กรมีหน้าที่ในการก่อให้เกิดสิทธิมนุษยชน ต้องดำาเนินการให้เป็นไป
ตามหลักการสากล และประชาชนต้องสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
ได้โดยง่าย เป็นไปตามหลักกฎหมายและมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีใคร
อยู่เหนือกฎหมาย
3