Page 162 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 162

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน




                   รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามความเหมาะสม
          และความต้องการของแต่ละพื้นที่ (โปรดดู พ.ร.บ. ตำารวจแห่งชาติ ๒๕๔๗

          มาตรา ๗)
                   ผู้ช่วยเจ้าพนักงานตำารวจจะกระทำาการใดๆ ได้ ต้องมีกฎหมาย
          บัญญัติไว้ให้มีอำานาจเท่านั้น และมีหน้าที่เพียงแต่เป็นผู้ช่วยหรือสนับสนุน

          การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจ ไม่สามารถที่จะกระทำาการใดๆ
          โดยพลการได้ เว้นแต่เป็นการกระทำาที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ประชาชน
          ทั่วไปสามารถกระทำาได้



                   ๓.๒๓.๒   แนวทางในการปฏิบัติ
                   โดยทั่วไปแล้วกฎหมายจะให้อำานาจแก่เจ้าพนักงานในการรักษา
          ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นที่ประชาชนสามารถ

          ทำาได้เช่นกัน ดังนี้

                           ๓.๒๓.๒.๑  การจับโดยประชาชน โดยปกติแล้ว
          การจับกุมผู้กระทำาผิดนั้น เป็นอำานาจของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง

          หรือตำารวจ ซึ่งคำาว่า เจ้าพนักงาน ที่ว่านี้มีความหมายกว้าง ขึ้นอยู่กับ
          กฎหมายในแต่ละเรื่องนั้นจะบัญญัติให้ใครเป็นเจ้าพนักงาน ความหมาย
          ของคำาว่า “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำารวจ” คือ เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมาย
          ให้มีอำานาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้ง

          พัสดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงาน
          ตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าพนักงานอื่นๆ ซึ่งมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม
          ดังนั้น นอกจากตำารวจแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำาเภอ ปลัดอำาเภอ ฯลฯ
          ซึ่งจัดอยู่ในประเภทพนักงานฝ่ายปกครอง จึงมีอำานาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำา

          ความผิดได้ แม้ว่าความผิดนั้นๆ จะมีเจ้าพนักงานโดยเฉพาะอยู่แล้ว เช่น
          ความผิดตามกฎหมายศุลกากร กฎหมายสรรพสามิต เจ้าหน้าที่ตำารวจ



                                       138
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167