Page 63 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 63

“...เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่เพียงแต่ปลูกให้มีพอกิน มันต้องมีพอที่จะตั้ง
                      โรงเรียน มีพอที่จะมีแม้แต่ศิลปะ...เจริญในทุกทาง เจริญในทางไม่หิว มีกิน คือไม่จน
                      แล้วก็มีกิน แล้วก็มีอาหารใจ อาหารที่จะศิลปะหรืออะไรอื่นๆ ให้มากๆ ... สำาคัญว่า

                      จะต้องรู้จัก ขั้นตอนคือ ถ้านึกจะทำาอะไรให้เร็วเกินไปไม่พอเพียง แต่ว่าถ้าไม่เร็วเกินไป
                      หรือถ้าช้าเกินไป ก็ไม่พอเพียง ต้องให้รู้จักก้าวหน้า อาจจะเร็วก็ได้ แต่ว่าให้ก้าวหน้า

                      โดยที่ไม่ทำาให้คนเดือดร้อน อันนี้เศรษฐกิจพอเพียง...ให้พอเพียง ไม่ใช่เศรษฐกิจ
                      ให้พอเพียงในความคิดและทำาอะไรพอเพียงสามารถที่จะอยู่ได้....”

                              (พระราชดำารัสแก่คณะบุคคลที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาส

                      วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖)

                      พระราชดำารัส “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ได้เป็นแนวทาง

               ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันมีคุณลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่
                      ๑.  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป หรือไม่สุดโต่งไป
               ข้างใดข้างหนึ่ง และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

                      ๒.  ความมีเหตุผล หมายถึง ทุกการตัดสินใจ การกระทำา การลงทุน ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
               คำานึงถึงเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

                      ๓.  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเผชิญผลกระทบ และการ
               เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากทั้งภายในและภายนอก
                      ทั้งนี้ ต้องมีเงื่อนไขสำาคัญ ๒ ประการ ได้แก่

                      ๑.  มีความรู้ คือ มีความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวังในการนำาความรู้ วิทยาการเทคโนโลยี
               ต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการปฏิบัติ

                      ๒.  มีคุณธรรม คือ มีความตระหนัก มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความอดทน มีความเพียร และ
               ใช้สติปัญญาในการดำาเนินชีวิต

                      หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นทางออกของประเทศไทยที่จะนำาไปสู่สันติสุข และมิใช่

               จะใช้ได้ในเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังใช้ได้ในสังคม และเกี่ยวเนื่องไปถึงสุขภาวะของประชาชนด้วย

                      ด้วยเหตุที่การแพทย์และสาธารณสุขในปัจจุบันได้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมาก วิทยาการ

               ทางการแพทย์ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ได้เกิดขึ้นมากมาย ทำาให้การแพทย์และสาธารณสุขพัฒนาขึ้น
               อย่างมากมายและรวดเร็ว แต่ปัญหาจากโรคภัยที่เป็นปัญหานั้นยังอยู่  เดิมนั้นการแพทย์และสาธารณสุข
               สามารถแก้ไข ควบคุม ป้องกัน หรือบำาบัดได้ ผู้ที่เป็นโรคร้ายซึ่งแต่เดิมคงไม่มีชีวิตรอด กลับมีวิธีการ

               ช่วยชีวิตให้ยืนยาวได้ ทุกคนมีอายุยืนยาวขึ้น มีคุณภาพชีวิตดี มีความปลอดภัยและสะดวกสบายขึ้น





                                                  พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น  63
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68