Page 110 - พระมหากษัตริย์กับงานสิทธิมนุษยชน
P. 110
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชอุตสาหะที่จะช่วยเหลือให้ราษฎรได้เข้าใจว่า
มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดังพระราชดำารัสว่า “ไม่มีใครอยู่ได้ตามลำาพัง หากคนหนึ่งมีอันเป็นไป
คนอื่นๆ ก็จะมีอันเป็นไปด้วย” (พระราชดำารัส พุทธศักราช ๒๕๑๗) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งมูลนิธิสายใจไทยขึ้น เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ทหาร ตำารวจ พลเรือน และอาสาสมัครที่พิการ
หรือบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่รักษาความมั่นคงภายใน ในระหว่างที่มีปัญหาการก่อการร้าย
ในบ้านเมือง ปรากฏว่าสาธารณชนได้ศรัทธาบริจาคเงินสนับสนุนเป็นจำานวนมาก ซึ่งเดิมนั้นมูลนิธิ
เพียงแต่ดำาเนินการจัดหาทุนให้แก่ผู้เจ็บป่วยพิการจากการปฏิบัติหน้าที่ ก่อนที่จะได้รับการช่วยเหลือ
จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เมื่อบุคลากรด้านรักษาความมั่นคงเสียชีวิตในหน้าที่ มูลนิธิจึงได้
ให้ความช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีมูลนิธิราชประชานุเคราะห์
ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ กรมประชาสงเคราะห์และองค์กรเอกชนได้ร่วมกันตั้งสภาสังคมสงเคราะห์
แห่งประเทศไทยขึ้นเป็นหน่วยงานอิสระที่ดูแลสวัสดิการของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน ช่วยขจัดปัญหาสังคม
ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้เท่าเทียมกัน พัฒนาทรัพยากรบุคคล พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
โดยร่วมมือกับรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรอิสระและภาคธุรกิจเอกชน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสภาสังคมสงเคราะห์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๔
ในคราวที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติจากพายุโซนร้อน (พายุเกย์) ขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๕ พายุนี้
ได้พัดผ่าน ๑๒ จังหวัดในภาคใต้ เข้าทำาลายอาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการพังพินาศ และมีราษฎร
เสียชีวิตประมาณ ๖๐๐ คนกับมีผู้บาดเจ็บอีกจำานวนมาก โดยไม่มีการบริการทางการแพทย์ได้ทันทีนั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยความเดือดร้อนดังกล่าว จึงทรงเร่งให้ดำาเนินการช่วยเหลือโดย
มีพระราชดำารัสผ่านสื่อมวลชนขอให้ชาวไทยได้ร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยนับพันคนที่ไร้ที่อยู่ ปรากฏ
ว่าคนไทยทั้งประเทศได้ร่วมใจกันช่วยเหลือบรรเทาภัยพิบัติและบริจาคเงินจำานวนมาก จนมีเงินเหลือ
ที่จะตั้งมูลนิธิได้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ขึ้นเพื่อบรรเทา
ทุกข์แก่ราษฎรที่ประสบภัยพิบัติจากธรรมชาติ และภัยพิบัติอื่นๆ เช่น พายุ นำ้าท่วม อัคคีภัย หรือ
อุบัติเหตุใหญ่ เป็นต้น โดยมีอาสาสมัครที่ได้รับการอบรมด้านปฐมพยาบาล การดูแลเด็ก การบรรเทา
ภัยพิบัติ และการวางแผนป้องกันอันตรายก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติ ดังพระราชดำารัส ความว่า
“มูลนิธิราชประชานุเคราะห์นี้ถือว่าเป็นคล้ายๆ บริษัทประกันใหญ่สำาหรับ
บ้านเมือง ผู้ที่เคราะห์ร้ายจะได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที และอย่างเร็วที่สุด
โดยที่ผู้อื่นที่ไม่ได้เคราะห์ร้ายเท่า ได้ช่วยสมทบทุนและสิ่งของให้แก่มูลนิธิ มูลนิธิจึงได้
ปฏิบัติงานมาหลายปีแล้วด้วยความเรียบร้อยได้กำาลังเจ้าหน้าที่ของฝ่ายราชการเพื่อ
ที่จะบรรเทาทุกข์ประชาชนที่เดือดร้อน”
(พระราชดำารัสเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๓)
110 พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์ กั บ ง า น สิ ท ธิ ม นุ ษ ย ช น