Page 90 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 90

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   89


                     การปรากฏตัวของผู้หญิงในป่าก็เป็นสัญญาณแห่งหายนะที่จะตามมาแล้ว เช่น เรื่อง “ซึงผี” ของมนัส จรรยงค์
                     เล่าเรื่องการพบศพ “นิตย์” ซึ่งเป็นผู้คุมที่หายตัวไปในป่าเขาของยะลาว่าน่าจะเกิดจากความขัดแย้งของ

                     นักโทษกับผู้คุม เมื่อ “บาง” นักโทษในยะลาได้รับอนุญาตให้พาเมียไปอยู่ด้วยได้ บางถูกเพื่อนร่วมชะตากรรม
                     “จ้าวน้อย” คัดค้านโดยกล่าวว่า

                                   “บางรู้ไหมว่าที่นี่คุก มันมีแต่พวกนักโทษ ถูกละ! ถึงแม้ว่าจะเป็นนักโทษชนิดหนัก สิบปี

                            ขึ้นไป ไม่มีพวกลักเล็กขโมยน้อยมาปะปน แต่ว่าเรื่องผู้หญิงไม่เคยจะละเว้นได้ ก็ทีพวกเราเหล่านี้
                            มาติดกันอยู่นี้มันก็เรื่องเกี่ยวโยงมาจากผู้หญิงด้วยกันทั้งนั้นไม่ใช่หรือ?”
                                   “แต่อีดอกไม้ของฉันไม่อย่างนั้น”  จ้าวน้อยหัวเราะหึๆ อยู่ในลําคอ

                                   “มันจะต้องมีเรื่อง ฉันคาดอะไรไม่ค่อยผิด” (มนัส จรรยงค์, 2546: 133)

                            จ้าวน้อยคาดว่าเมียของบางจะทําให้เกิดเหตุร้าย และก็เป็นจริงตามนั้นโดยที่เขายืนยันความคิดเดิม
                     เมื่อเห็นตัวดอกไม้


                            คิดอยู่ในใจว่าดอกไม้เป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในบรรดาหญิงชาวกะเหรี่ยงด้วยกัน เจ้านุ่งถุงดํามีลาย
                            และเย็บติดกันเหมือนเสื้อกระโปรง เจาะหูใหญ่และกว้างใส่ไว้ด้วยไม้รวกขัดมันจากสีเหลือง […]
                            จ้าวน้อยคิดแต่เพียงในใจว่า “มันจะต้องเกิดเรื่องขึ้นแน่นอน” เขาสังหรณ์ใจอย่างไรชอบกล (มนัส

                            จรรยงค์, 2546: 134)

                            การสังหรณ์ใจของเขาเป็นจริงในเวลาต่อมา นิตย์ซึ่งเป็นผู้คุมหลงเสน่ห์ดอกไม้ด้วยเห็นว่าดอกไม้
                     “เป็นหญิงประหลาดเต็มไปด้วยความพิศวง” ทั้งสองคนลักลอบได้เสียกันขณะที่จ้าวน้อยและบางถูกส่งให้

                     เดินทางไปทํางานไกลที่พัก แต่ความก็แตกเมื่อเจ้าน้อยเริ่มสงสัยและแอบกลับมาที่พัก และได้พบว่านิตย์และ
                     ดอกไม้มีความสัมพันธ์กัน นิตย์ทําร้ายจ้าวน้อยจนตกเหวตาย แต่ภายหลังนิตย์เป็นไข้และเพ้อถึงจ้าวน้อยและ

                     ดอกไม้ ทําให้บางรู้ความจริง ส่วนเจ้าบางก็ตามหาเพื่อนโดยเดินตามเสียงซึงของ (วิญญาณ) เจ้าน้อย และพบ
                     ศพจ้าวน้อยในที่สุด บางกลับไปหมู่บ้านและสามารถล้างแค้นแทนเพื่อนได้


                            จะเห็นได้ว่าเรื่องนี้ประณามผู้หญิงว่าเป็นสาเหตุของโศกนาฏกรรมทั้งที่หญิงผู้นั้นยังไม่ได้ปรากฏตัว
                     บทบาทของผู้หญิงในเรื่องสั้นแนวผจญไพรเหล่านี้ก็คือต้นเหตุแห่งความขัดแย้งของผู้ชายที่มักนําไปสู่ความตาย
                     นอกจากเรื่อง “ซึงผี” “ป่าดงพงพี” ของ มนัส จรรยงค์แล้วก็ยังมีเรื่อง “ตอกทอย” “สักแหลน” “รอยแรด”

                     และเรื่อง “ใครจะเปลื้องบาปนี้ให้ฉัน” ของ นัน บางนรา “ไพร่ฟ้า”  ของ ลาว คําหอม สองเรื่องหลังนี้เสนอ

                     ความขัดแย้งจากการแย่งชิงผู้หญิงระหว่างคนป่ากับคนเมือง

                            ภาพลักษณ์ที่มักปรากฏในตัวละครหญิงก็คือภาพผู้หญิงบริสุทธิ์ที่เป็นวัตถุแห่งความใคร่  เป็นเหยื่อ
                     กามราคะของผู้ชาย เป็น “วัตถุ” แห่งการแก่งแย่งและสาเหตุแห่งการล้มตายของผู้ชาย ตัวละครหญิงที่มักถูก
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95