Page 152 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 152

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   151



                     ความตายเป็นความจริงที่ชัดเจน แต่แม้มันจะยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม ความกลัวนี้ก็ยังไม่สามารถหยุดอารมณ์
                                                            35
                     ตัณหาของมนุษย์ได้เพราะมันเป็นคนละเรื่องกัน”   ที่เป็นเช่นนี้ “ก็เพราะว่าสัญชาตญาณที่ต่อสู้กันใน
                     ตัวมนุษย์นี้ไม่ได้เป็นพลังที่แน่นอนคงที่อยู่บนความสมดุลอย่างที่กฎหมายต้องการให้เป็น แต่มันเป็นพลังที่
                     เปลี่ยนแปลงเสมอที่มลายและพิชิตสลับกันไป และความต่อเนื่องของความไม่แน่นอนนี้เองที่หล่อเลี้ยงชีวิตของ
                               36
                     จิตวิญญาณ”   ดังนั้นหากเราต้องการให้โทษประหารชีวิตมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง “ธรรมชาติของมนุษย์
                     จะต้องไม่เป็นดังที่เป็นอยู่ จะต้องคงที่และแน่นิ่งเฉกเช่นกฎหมาย แต่มันก็จะเป็นได้แค่ธรรมชาติ
                              37
                     ที่ตายแล้ว”

                            หลังจากยกประเด็นเรื่องความสัมพันธ์อันย้อนแย้งระหว่าง “การกลัวความตาย”  และ “อารมณ์

                     ตัณหา”  ในธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งขัดกับหลักความเข้าใจทั่วไปตามแง่มุมทางกฎหมายแล้ว กามูส์ยังก้าวลึก
                     ต่อไปในข้อโต้แย้งที่ว่าเหตุใดโทษประหารชีวิตจึงไม่สามารถยับยั้งอาชญากรจากการก่ออาชญากรรมได้
                                                                  38
                     เขายก “ปฏิทรรศน์อีกชุดหนึ่งของธรรมชาติของมนุษย์”   กล่าวคือ “ในแง่หนึ่ง เราฆ่าเพื่อจะได้ตาย”
                     เนื่องจาก “สัญชาตญาณของการมีชีวิตอยู่”  ไม่สามารถตัดขาดออกจากคู่ตรงข้ามของมันคือ “สัญชาตญาณ
                                                                             39
                     ของการจบชีวิต” ได้ อย่างเช่นตัวอย่างเรื่อง “พฤติกรรมนอกลู่นอกทาง”  ทั้งหลายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น
                     การติดยาเสพติดหรือเครื่องดื่มมึนเมา ซึ่งมักจะนํามาซึ่งหายนะในชีวิต

                             มนุษย์ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ แต่มันช่างเป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์สิ้นดีถ้าจะหวังว่า
                             ความปรารถนานี้จะเข้าควบคุมเหนือการกระทําทุกการกระทําของเขา  เขาปรารถนา
                             ความว่างเปล่าด้วยเช่นกัน เขาโหยหาสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้  และความตายเพื่อความตาย

                             [...]  เมื่อความปรารถนาอันแสนประหลาดนี้ขยายตัว  และเข้าครอบงําการมองเห็นว่า









                            35  “Si la peur de la mort, en effet, est une évidence, c’en est une autre que cette peur, si grande
                     qu’elle soit, n’a jamais suffi à décourager les passions humaines.” (Camus, 1979 [1957]: 133).
                            36  “C’est que les instincts qui, dans l’homme, se combattent, ne sont pas, comme le veut la loi,
                     des forces constantes en état d’équilibre. Ce sont des forces variables qui meurent et triomphent tour à

                     tour et dont les déséquilibres successifs nourrissent la vie de l’esprit” (Camus, 1979 [1957]: 134).
                            37  “[...] qu’elle [la nature humaine] fût aussi stable et sereine que la loi elle-même. Mais elle
                     serait alors nature morte.” (Camus, 1979 [1957]: 134).
                            38  “un autre paradoxe de la nature humaine” (Camus, 1979 [1957]: 135).
                            39  “L’instinct de vie”, ‘l’instinct de mort”, “perversions” (Camus, 1979 [1957]: 135).
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157