Page 97 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 97
๘๒
ประเด็นที่สอง การที่ผู้ประกอบธุรกิจติดต่อหรือส่งข้อความเพื่อขายสินค้า
หรือบริการแก่บุคคลอันก่อให้เกิดความเดือดร้อนร่าคาญ โดยได้รับข้อมูลส่วนตัวของบุคคล เช่น ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์ จากผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นตามกรณีศึกษา เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นหรือไม่
(๓) แนวทางการพิจารณา
ประเด็นที่หนึ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่อาศัยของบุคคลหนึ่ง
มีลักษณะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอันเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวหรือไม่
ในบริบทของกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ ข้อมูลเกี่ยวกับการ
รักษาพยาบาลของบุคคลหนึ่งย่อมเป็นข้อมูลที่เกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วน
บุคคลและที่พักอาศัย ในลักษณะที่เป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามนัยแห่งสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
ที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองไว้โดยชัดแจ้งในข้อ ๑๒ แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
และข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ข้อมูลดังกล่าวย่อมเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลและที่พักอาศัยของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นนั่นเอง
ในบริบทของกฎหมายของประเทศไทย ข้อมูลเกี่ยวกับเบอร์โทรศัพท์
และที่อยู่อาศัยของบุคคลย่อมอยู่ในขอบเขตแห่งสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งได้รับความคุ้มครอง
ตามบทบัญญัติมาตรา ๔ และมาตรา ๓๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
ในอันที่บุคคลใดจะล่วงละเมิดโดยมิชอบด้วยกฎหมายมิได้ โดยนัยดังกล่าว สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
ย่อมตกอยู่ในความหมายของค่าว่า “สิทธิมนุษยชน” ตามนัยที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓
แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ประเด็นที่สอง การที่ผู้ประกอบธุรกิจติดต่อหรือส่งข้อความเพื่อขายสินค้า
หรือบริการแก่บุคคลอันก่อให้เกิดความเดือดร้อนร่าคาญ โดยได้รับข้อมูลส่วนตัวของบุคคล เช่น ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์จากผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นตามกรณีศึกษา เป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นหรือไม่
ในปัจจุบัน นอกจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว ยังไม่ปรากฏ
ว่ามีกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติใดที่บัญญัติคุ้มครองผู้ถูกรบกวนสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวจากการ
ด่าเนินการดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะแต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายของต่างประเทศ เช่น ประเทศ
สหรัฐอเมริกา ที่ได้บัญญัติหลักการส่าคัญๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
๙๑
ของผู้ที่ถูกรบกวนจากการขายตรงทางโทรศัพท์มาบัญญัติไว้ในกฎหมายหลายฉบับ เช่น
๙๑
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว: ศึกษากรณี
การรบกวนสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวโดยธุรกิจขายตรง โดย ผศ. คณาธิป ทองรวีวงศ์ ข้อมูลจาก
http://apheitconference.spu.ac.th/attachments/article/7/39_18-1.pdf