Page 115 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 115
๑๐๐
โดยนัยดังกล่าว การใช้ชีวิตในห้องขังของผู้ต้องขังในเรือนจ่า
หรือการประพฤติปฏิบัติของบุคคลในสถานที่แห่งหนึ่งแห่งใดตามวิถีของตนย่อมเป็นสิทธิในความเป็นอยู่
ส่วนตัวซึ่งได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา ๔ และมาตรา ๓ ๕ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ในอันที่บุคคลใดจะล่วงละเมิดโดยมิชอบด้วยกฎหมายมิได้
โดยนัยดังกล่าว สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมตกอยู่ในความหมายของค่าว่า “สิทธิมนุษยชน”
ตามนัยที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ประเด็นที่สอง การที่เจ้าหน้าที่เรือนจ่าจะท่าการติดตั้งกล้องโทรทัศน์
วงจรปิดในห้องขังของผู้ต้องขังก็ดี หรือการติดกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในโรงภาพยนตร์ เป็นการแทรกแซง
สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องขังหรือของผู้มาใช้บริการของโรงภาพยนตร์ อันเป็นการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนของผู้ต้องขังหรือบุคคลนั้นหรือไม่
เมื่อการใช้ชีวิตในห้องขังของผู้ต้องขังในเรือนจ่าและการประพฤติปฏิบัติ
ตนของบุคคลในสถานที่แห่งหนึ่งแห่งใดเป็นสิทธิที่เกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับที่พัก
อาศัยซึ่งจะต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดหน้าที่หรือความผูกพันต่อบุคคลอื่นที่จะต้อง
เคารพต่อสิทธิดังกล่าวโดยไม่กระท่าการแทรกแซงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานนั้นโดยมิได้รับความยินยอม
โดยชัดแจ้งของผู้ต้องขังหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นแต่อย่างใด โดยนัยดังกล่าว การที่เจ้าหน้าที่เรือนจ่าจะ
ท่าการติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในห้องขังของผู้ต้องขังก็ดี หรือการติดกล้องโทรทัศน์วงจรปิดในโรง
ภาพยนตร์ตามกรณีศึกษา จึงเป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องขังหรือผู้มาใช้
บริการของโรงภาพยนตร์ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหรือบุคคลนั้น
ประเด็นที่สาม การด่าเนินการดังกล่าวเป็นการด่าเนินการตามอ่านาจ
หน้าที่ตามกฎหมายโดยองค์กรของรัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นสิ่งจ่าเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
และได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์นั้นหรือไม่
ต่อประเด็นปัญหาดังกล่าว ศาลแห่งยุโรปด้านสิทธิมนุษยชนได้เคยวินิจฉัย
๙๗
ไว้ในคดีหนึ่ง ว่าการแยกขังเดี่ยว การควบคุมนักโทษโดยระบบวงจรปิด การไม่อนุญาตให้ฟังวิทยุหรือ
ดูโทรทัศน์ หรือการไม่อนุญาตให้ออกก่าลังกายนั้น จะกระท่าได้โดยเฉพาะต่อนักโทษที่มีพฤติการณ์
น่าอันตรายอย่างร้ายแรง หรือเพื่อให้มีการรักษาวินัยของเรือนจ่าเคร่งครัดขึ้นเท่านั้น
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เคยพิจารณาประเด็นปัญหา
๙๘
ในเรื่องนี้มาแล้ว โดยเห็นว่าการพิจารณาเรื่องนี้จะต้องชั่งน้่าหนักระหว่างสิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว
ของบุคคลกับประโยชน์ของสาธารณะที่รัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครอง เช่น ความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น เมื่อแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าประโยชน์สาธารณะต่างๆ เหล่านั้น
มีความส่าคัญและจ่าเป็น “เหนือกว่า” เรื่องส่วนตัวของบุคคล ก็สามารถด่าเนินการได้ตามข้อยกเว้น
๙๗
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิผู้ต้องหา จ่าเลย และผู้ต้องโทษในคดีอาญา อ้างแล้วเชิงอรรถที่ ๑๘
๙๘ ความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกรณีการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ภายในพื้นที่
ควบคุมหรือในห้องพักผู้ต้องสงสัย