Page 113 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 113
๙๘
ต่อวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายนั้น เนื่องจากจดหมายของผู้ต้องขังมีสถานะที่จะต้องได้รับสิทธิพิเศษ
(un statut privilégié) ศาลให้เหตุผลว่าจดหมายของผู้ต้องขังที่มีไปถึงทนายความของตนจะถูกเปิดอ่าน
โดยเจ้าหน้าที่ของเรือนจ่าได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่เป็นข้อยกเว้นซึ่งมีเหตุอันสมควรที่จะเชื่อว่าจดหมายนั้น
มีเนื้อหาหรือข้อความที่เป็นการคุกคามความปลอดภัยขององค์กรหรือบุคคลอื่น (le contenu de la
lettre menace la sécurité de l’établissement ou d’autrui) หรือที่มีลักษณะเป็นความผิด
(le caractère délictueux) เท่านั้น ดังนั้น เจ้าหน้าที่เรือนจ่าจะสามารถเปิดจดหมายที่ทนายความ
มีไปถึงผู้ต้องขังได้ก็เฉพาะแต่เมื่อเจ้าหน้าที่มีเหตุผลอันสมควรเชื่อ (des motifs plausibles)
ว่าจดหมายนั้นจะมีสิ่งผิดกฎหมายซึ่งมิอาจท่าให้เปิดเผยได้โดยวิธีการตรวจสอบปกติอย่างอื่น
แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีเช่นนั้น เจ้าหน้าที่เรือนจ่าจะต้องเปิดจดหมายนั้นต่อหน้าผู้ต้องขัง
โดยต้องไม่อ่านจดหมายนั้น
นอกจากนี้ ตามกฎหมายและแนวปฏิบัติของประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นประเทศที่ให้ความส่าคัญกับสิทธิและเสรีภาพเป็นอย่างมาก ศาลสูงของประเทศสหรัฐอเมริกา
ได้ขยายขอบเขตของสิทธิผู้ต้องขังให้ได้รับการเยี่ยมและการติดต่อกับโลกภายนอกมากขึ้นโดยศาลสูง
ได้มีค่าพิพากษาห้ามการตรวจเนื้อหาของจดหมายที่ส่งออกจากเรือนจ า รวมทั้งห้ามการจ ากัดสิทธิ
การติดต่อกันทางจดหมายระหว่างนักโทษกับบุคคลที่อยู่นอกเรือนจ า การตรวจจดหมายที่ส่งเข้ามา
ในเรือนจ าให้กระท าได้ แต่ห้ามอ่านข้อความในจดหมาย รวมทั้งอนุญาตให้ท าการตรวจด้วยอุปกรณ์
และการสัมผัสด้วยมือ นอกจากนั้น เรือนจ่าควรจัดให้มีตัวแทนของนักโทษที่ท่าหน้าที่สังเกตการณ์
ปฏิบัติในห้องไปรษณีย์ของเรือนจ่า และการตรวจสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่ส่งให้นักโทษในเรือนจ่าให้กระท่าได้
เท่าที่จ่าเป็นเพื่อค้นหาสิ่งผิดกฎหมายหรือสิ่งพิมพ์ที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งฝ่าฝืนข้อบังคับและระเบียบของ
เรือนจ่า
ส่าหรับการใช้โทรศัพท์ของเรือนจ่า นักโทษได้รับอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์
สาธารณะที่ติดตั้งในเรือนจ่าได้สัปดาห์ละ ๒- ๓ นาที รวมทั้งการให้ใช้โทรศัพท์ฉุกเฉิน เช่น การติดต่อ
ทนายความเป็นต้น
(๔) สรุป
ในบริบทของกฎหมายไทย การที่เจ้าหน้าที่เรือนจ่าตรวจดูหรือ
เปิดอ่านจดหมายของผู้ต้องขังเป็นการแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องขัง หากแต่
การด่าเนินการดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามอ่านาจหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ
เป็นสิ่งจ่าเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว และได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์นั้น กรณีการกระท่าเช่นนั้น
จึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขัง