Page 112 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 112
๙๗
อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาตามกรณีศึกษานี้มีมาตรฐานขั้นต่่า
ของสหประชาชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังได้ก่าหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา
โดยตรงไว้ในข้อ ๓๗ ซึ่งก่าหนดว่า “พึงอนุญาตให้ผู้ต้องขังติดต่อกับครอบครัว และเพื่อนที่เชื่อถือได้ของ
เขาตามก าหนดอย่างสม่ าเสมอ ทั้งทางจดหมายและโดยการเยี่ยมเยียนในความควบคุมของเจ้าหน้าที่”
นอกจากนี้ หากพิจารณาตามกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศหรือกฎหมายต่างประเทศบางประเทศ
อาจพบว่ามีการก่าหนดแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกับแนวทางปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายไทย ดังนี้
หากพิจารณาตามกรอบของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและ
อนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานแล้ว จะเห็นว่าจดหมาย
(หรือการติดต่อสื่อสารอย่างอื่น) ย่อมเกี่ยวด้วยสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
และได้รับความคุ้มครองมิให้บุคคลใดเปิดเผยข้อมูลในจดหมายนั้นโดยมิได้รับความยินยอมจากบุคคล
ที่เกี่ยวข้อง การแทรกแซงสิทธิดังกล่าวโดยองค์กรของรัฐจะกระท่าได้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ก่าหนดไว้
ในข้อ ๘ วรรคสอง ของอนุสัญญาแห่งยุโรป กล่าวคือ การแทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับ
จดหมาย(หรือการติดต่อสื่อสารอย่างอื่น) จะกระท่าได้ต่อเมื่อเป็นการปฏิบัติอ่านาจหน้าที่ตามกฎหมาย
เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ความมั่นคงแห่งรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือความปลอดภัยของประชาชน
การกระท่าเช่นนั้นเป็นสิ่งจ่าเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว และการกระท่าเช่นนั้นได้สัดส่วน
กับวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายนั้น โดยนัยดังกล่าว หลักส่าคัญจึงได้แก่ การห้าม มิให้เปิดเผยหรือตรวจดู
ข้อมูลในจดหมาย (หรือการติดต่อสื่อสารอย่างอื่น) ของผู้ต้องขัง การจะตรวจดูจดหมายของผู้ต้องขังได้
จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีเหตุอันสมควรที่จะเชื่อได้ว่าผู้ต้องขังจะกระท่าการอย่างหนึ่งอย่างใด
อันอาจกระทบต่อความมั่นคงแห่งรัฐ ความปลอดภัยหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนเท่านั้น
ซึ่งต้องปรากฏข้อเท็จจริงประการหนึ่งประการใดเพื่อประกอบการตัดสินใจด่าเนินมาตรการอันเป็นการ
แทรกแซงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้ต้องขัง และหากจ่าเป็นจะต้องตรวจดูหรือเปิดอ่านจดหมาย
นั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องกระท่าต่อหน้าผู้ต้องขัง ดังที่ศาลแห่งยุโรปด้านสิทธิมนุษยชนได้เคยวินิจฉัยไว้
๙๖
ในคดี Campbell c/Royaume-Uni เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๑๙๙๒ ผู้ร้องซึ่งถูกลงโทษจ่าคุกตลอดชีวิต
(condamné à la prison à vie) ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา (l’assassinat) ได้ร้องเรียนเกี่ยวกับการ
ปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่ดี (de mauvais traitements)ของผู้ดูแลเรือนจ่า (de gardiens de prison)
ศาลได้ตัดสินว่าการเปิดอ่านจดหมายระหว่างทนายความและผู้ต้องขังโดยเจ้าหน้าที่เรือนจ่า
(les autorités pénitentiaires) เป็นการกระท่าอันเป็นการแทรกแซงสิทธิของบุคคลที่จะได้รับการ
เคารพในการติดต่อทางจดหมาย แม้การด่าเนินการดังกล่าวจะมีกฎหมายบัญญัติให้กระท่าได้และมี
วัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันการกระท่าความผิด
ทางอาญา แต่อย่างไรก็ตาม ศาลเห็นว่าการด่าเนินการเช่นนั้น “ มิใช่ ”สิ่งจ่าเป็นในสังคมประชาธิปไตย
๙๖ Arrêt Campbell, 25 mars 1992, Volume n° 233 de la série A, § 8 et 9 V. F. SUDRE, J. C. P.
1993, I, 3654, n° 23.,อ้างแล้ว