Page 111 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 111
๙๖
เพื่อแสดงให้รู้ว่าจดหมายฉบับนั้นๆ ได้ส่งออกมาจากเรือนจ่าและผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่แล้ว
จะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องขังหรือไม่
กรณีเกี่ยวกับการประทับตราบนซองจดหมายของผู้ต้องขังนั้น
กรมราชทัณฑ์ได้รับค่าร้องจากญาติผู้ต้องขัง และได้พิจารณาข้อร้องเรียนและมีหนังสือ ด่วนมาก
ที่ ยธ ๐๗๑๑.๑/๑๙๑๖๖ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ วินิจฉัยว่า การตรวจสอบจดหมายของผู้ต้องขัง
ที่ส่งออกจากเรือนจ่าหรือทัณฑสถาน สถานกักกันและสถานกักขัง มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการนัดแนะ
การวางแผนก่อความวุ่นวาย การก่อเหตุร้าย การแหกหักหลบหนี การลักลอบน่าสิ่งของต้องห้ามเข้า
เรือนจ่า ทัณฑสถาน สถานกักกันและสถานกักขัง ซึ่งเป็นการปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือ
เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นส่าคัญ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการ
กระท่าละเมิดต่อผู้ต้องขัง เจ้าของจดหมาย หรือบุคคลอื่นที่อาจได้รับความเสียหาย จึงให้เรือนจ่าหรือ
ทัณฑสถานด่าเนินการ ดังนี้
๑. การตรวจสอบจดหมายหรือเอกสารอื่นใดของผู้ต้องขังโดยให้
ตรวจสอบข้อความให้ละเอียดและให้ลงนามผู้ตรวจสอบในเอกสารหรือกระดาษจดหมาย
ของผู้ต้องขังที่ได้ท่าการตรวจสอบแล้วแต่กรณีก่อนที่จะส่งออกนอกเรือนจ่า ทัณฑสถาน สถานกักกัน
หรือสถานกักขัง
๒. กรณีจดหมายของผู้ต้องขังที่ส่งออกไปนั้น ห้ามมิให้ท่าการประทับตรา
ข้อความโฆษณาประชาสัมพันธ์กิจการใดๆ บนซองจดหมายของผู้ต้องขัง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกัน
การละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า แม้ว่าการตรวจสอบจดหมายของผู้ต้องขังสามารถ
กระท่าได้ เนื่องจากมีความจ่าเป็นที่จะต้องกระท่าเพื่อป้องกันการนัดแนะ การวางแผนก่อความวุ่นวาย
การก่อเหตุร้าย การแหกหักหลบหนี การลักลอบน่าสิ่งของต้องห้ามเข้าเรือนจ่า ทัณฑสถาน สถานกักกัน
และสถานกักขัง ซึ่งเป็นการปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นส่าคัญ แต่กรมราชทัณฑ์ก็ได้มีการค่านึงถึงสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
ของผู้ต้องขังอย่างเหมาะสมโดยห้ามมิให้ท่าการประทับตราข้อความเพื่อแสดงให้เห็นว่าจดหมายฉบับนั้น
ถูกส่งมาจากผู้ต้องขังในเรือนจ่า
นอกจากนั้น จากการตรวจสอบเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของเรือนจ่าพิเศษ
กรุงเทพมหานครพบว่า นอกจากสิทธิที่จะรับ-ส่งจดหมายแล้ว ปัจจุบัน กรมราชทัณฑ์ได้มีนโยบายให้
ผู้ต้องขังสามารถรับ-ส่ง E-mail กับญาติ โดยการรับอีเมล์ของผู้ต้องขัง เจ้าหน้าที่จะปริ้นต์มาจากอีเมล์
แล้วน่าส่งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อความว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ถ้าหากมีข้อความ
ที่ไม่เหมาะสมก็จะไม่ส่งให้ผู้ต้องขัง แต่ถ้าเหมาะสมก็จะส่งให้แก่ผู้ต้องขังตามระเบียบที่กรมราชทัณฑ์
๙๕
ก่าหนดไว้ ซึ่งถือว่าพัฒนาการที่ดีในการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ต้องขัง
๙๕
http://bangkokremand.thport.com/pages/khaosaraelakichkam.php